ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เขตบางกะปิ

Main Article Content

กนก เพ่งจินดา
นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัสดิ์
อัจฉรา หล่อตระกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเขตบางกะปิ รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของสำนักงานเขตบางกะปิ จำนวน 115 ราย เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความสำเร็จในงาน และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สภาพการทำงาน 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน และด้านที่ค่าเฉลี่ยนน้อยที่สุดคือ กำลังใจ 3) ปัจจัยแรงจูงใจด้านสภาพการทำงานมีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเขตบางกะปิสูงสุด รองลงมาคือ การได้รับการยอมรับนับถือ โดยปัจจัยแรงจูงใจทั้ง 2 ด้าน มีความสามารถร่วมกันพยากรณ์ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเขตบางกะปิ ร้อยละ 55


ข้อค้นพบจากงานวิจัย คือ หน่วยงานที่ต้องการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานควรส่งเสริมสภาพการทำงานที่ดี โดยสร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและสร้างความเชื่อมั่นแก่พนักงานเพื่อให้รู้สึกว่างานของตนมีความสำคัญและมีค่ามีโอกาสในการพัฒนาและเติบโตในองค์กร มีโอกาสได้รับการยกย่องนับถือและเกิดความก้าวหน้าในงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลิดา ศรมณี และพูนศรี สงวนชีพ. (2534). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐติกร สังข์ธูป. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดชัยนาท(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธนพิสิษฐ์ ดิศฐาวัฒนา. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรณีศึกษากองการเจ้าหน้าที่ กรมทางหลวง (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ริฟอรรถ ยะโกะ. (2564). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3(การค้นคว้าอิสระบริหารการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วรวรรณ เพิ่มทรัพย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำลังใจกับความผูกพันต่อองค์การในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิเชียร วิทยอุดม. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2540). ข้อคิดนักบริหารจากประสบการณ์นักปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บุ๊คแบงก์.

Herzberg, F. and others. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Vroom, V. H. (1964). Work and Motivation. New York: John Wiley & Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.