การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (รังษีวิทยากร) อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (รังษีวิทยากร) อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ ได้แก่ สามเณรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 14 รูป
ผลการวิจัย พบว่า การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (รังษีวิทยกร) อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการพัฒนาโดยมุ่งเน้นให้มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกไปพร้อม ๆ กัน เช่น การพัฒนาภายใน ได้แก่ ด้านฉันทะ (พอใจ) ความพึงพอใจในการจัดเรียนการสอนให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การเล่นเกมส์ การตอบคำถามมีรางวัลให้สำหรับผู้ที่ตอบรางวัลได้ เป็นต้น จึงทำให้เกิดเรียนรู้พัฒนาในด้านการเรียน ด้านวิริยะ (เพียรพยายาม) ทำให้นักเรียนมีความขยันหมั่นเพียรมาเรียนอย่างสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น ด้านจิตตะ (จิตใจ) ใจของผู้เรียน มีจิตใจที่แจ้มใจและการนั่งสมาธิก่อนเรียนเพื่อให้นักเรียนมีความทรงจำที่ดีขึ้น ด้านวิมังสา (สติปัญญา) ให้นักเรียนได้ใช้สติปัญญาแลกเปลี่ยนรู้กับเพื่อน ๆ ในห้อง ซึ่งนักเรียนมีความพยายามตอบสนองเจตนาที่ดีในการพัฒนาผู้เรียนให้ดีที่สุด โดยให้นักเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะเป็นการเล่น การเรียนรู้และใช้สติปัญญาเพื่อจะให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงต่อสิ่งที่เขาเรียนรู้ก็จะเกิดการจดจำในสิ่งที่ดียิ่งกว่าการท่องจำจากหนังสือเรียน เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ต่าง ๆ นั้นด้วยตนเองก็จะมีประสบการณ์ต่าง ๆ มากขึ้นและนำใช้ในวิถีชีวิตประจำวันได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.