การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับเด็กวัยเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอความรู้เกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับเด็กวัยเรียน โดยเนื้อหาของบทความแบ่งเป็น ความหมายของความฉลาดทางดิจิทัล ความสำคัญของความฉลาดทางดิจิทัล พฤติกรรมบ่งชี้ของความฉลาดทางดิจิทัล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับเด็กวัยเรียน 8 ด้าน ได้แก่ 1) การแสดงตัวตนบนโลกดิจิทัล 2) การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล 3) ความปลอดภัยทางดิจิทัล 4) ความมั่นคงทางดิจิทัล 5) ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัล 6) การสื่อสารดิจิทัล 7) การรู้ดิจิทัล 8) สิทธิทางดิจิทัล โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เด็กวัยเรียน รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวัลย์ อัตถาหาร และเสกสรรค์ ทองคำบรรจง. (2563). การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของความฉลาดทางดิจิทัลในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(1), 137-145.
ธีรวัฒน์ รูปเหลี่ยม. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นุชจรี ลอยหา. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานความคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 413-417.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างจิตนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล. กรุงเทพฯ: วอล์คออนคลาวด์.
DQ Institute association with World Economic Forum. (2018). 2018 DQ impact report: Outsmart the cyber-pandemic empower every child with digital intelligence by 2020. Retrieved from https://www.dqinstitute.org/2018dq_impact_report