นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ณัฐวุฒิ เอี่ยมเนตร
สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์
พระครูปลัดประวิทย์ ทรัพย์อุไรรัตน์
นภัทร์ แก้วนาค
จิดาภา เร่งมีศรีสุข

บทคัดย่อ

นวัตกรรมการสื่อสารเป็นรูปแบบหนึ่งของนวัตกรรมที่มีการนำมาใช้การอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีรูปแบบการพัฒนาที่มีความก้าวกระโดดจากการสื่อสารแบบตัวตัวต่อตัว ในอดีต มาจนถึงการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตที่เรียกว่าการสื่อสารแบบดิจิทัล  การสื่อสารในรูปแบบดิจิทัลนี้เป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และง่ายดายผ่านแอพริเคชั่นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อนวัตกรรมการสื่อสารเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในบริบทของการบริหารจัดการองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชน จะสามารถยกระดับองค์กรให้เป็นองค์กรชั้นนำ เนื่องจากนวัตกรรมการสื่อสารเหล่านี้จะสามารถช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และทันเหตุการณ์ แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีนวัตกรรมสื่อสารเกิดขึ้นมาใหม่จำนวนมาก การที่องค์กรต่าง ๆ จะนำนวัตกรรมการสื่อสารทั้งหมดมาใช้อาจไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างถ่องแท้และเท่าทัน ไม่ปลอดภัยต่อองค์กร ดังนั้นองค์กรที่จะนำนวัตกรรมการสื่อสารมาใช้จึงจำเป็นต้องรู้ถึงองค์ประกอบของนวัตกรรมการการสื่อสารที่ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ เป้าหมายการสื่อสาร  
ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร บริบท และ ประเมินผล เมื่อทราบถึงองค์ประกอบของนวัตกรรมการสื่อแล้ว ยังต้องมีเข้าใจในตัวของนวัตกรรม ทราบถึงข้อดี-ข้อเสียและประโยชน์ที่ได้รับเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ โดยผ่านกระบวนการแพร่กระจายของนวัตกรรมและกระบวนการยอมรับที่จะใช้นวัตกรรม ดังนั้นการสร้างความเข้าใจกระบวนการแพร่กระจายของนวัตกรรมและกระบวนการยอมรับนวัตกรรม จะก่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างนวัตกรรม, การสื่อสาร และการบริหารจัดการ ซึ่งจะทำเพิ่มความสามารถขององค์กรใน 5 รูปแบบคือ 1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ 3. เพิ่มการตอบสนองที่รวดเร็ว 4. เพิ่มความสามารถการทำงานเป็นทีม 5. พร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากนำนวัตกรรมการสื่อสารมาบูรณาการกับองค์กรอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะเป็นการยกระดับองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์, ปิยฉัตร ล้อมชวการ และ สราวุฒิ ทองศรีคำ. (2567). นวัตกรรมการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566, จาก https://smartmooc.org/courses/coursev1:HAPPYU+HAPPYU03+ HAPPYU03/about

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. (2564). วัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลของ กทพ. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนาคม 2566, จาก https://gisportal.exat.co.th/exatPortalHosting/document/EXAT_ Digital_Culture.pdf.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2536). เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จอห์นนพดล วศินสุนทร. (2563). กำลังสำรองเป็นกำลังทางยุทธศาสตรของชาติและเป็นพลังอำนาจทางทหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566, จากhttps://johnnopadon.blogspot.com/fbclid=IwAR3kFTxBrprI3ikyAHI4ArBfMCZcbtVEz5O50xDJ2oCbZ8I5dMQmnN2Vc

ธราธร บุ้งทอง, กมล เสวตสมบูรณ์ และละเอียด ศิลาน้อย. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรกับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของบริษัทนำเที่ยวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(22), 73-85.

สุทิพย์ ประทุม และ สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 6(1), 1-18.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2557). นวัตกรรมสื่อสังคมกับประชาคมอคติ. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 1(1), 19-32.

Berio, D. K. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Boonroungrut, C., Saroinsong, W. P., & Thamdee, N. (2022). Research on Students in COVID-19 Pandemic Outbreaks: A Bibliometric Network Analysis. International Journal of Instruction, 15(1), 457-472.

Fayol, H. (1916). General and Industrial Management. Paris: Institute of Electrical and Electronics Engineering.

Kirine, K., Charoenarpornwattana, P. & Leeniwa, J. (2023). Digital Transformation of Human Resource Development. Journal of Information and Learning, 34(3), 154-165.

McQuail, D. (1987). Mass Communication Theory: An Introduction. (2nd ed.). London: Sage Publications.

Rogers, E. M. (1995). Diffusion of Innovations. (4th Ed). New York: Free Press.

Simon, H. (1996). A Public Administration. New York: Alfreod A Kuopf. Tompkins, J. R. (2005). Organization Theory and Public Management. Belmont: Thomson Wadsworth.