ปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัสดิ์
บวรลักษณ์ เสนาะคำ
ริญญาภัทร์ ปยุตวรเศรษฐ์
สายใจ แจ้งสุทิมล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน, ศึกษาปัจจัยลักษณะการเป็นผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน และศึกษาปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลรูปแบบธุรกิจบริษัทจำกัด จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า


1. ผู้ประกอบการที่มีอายุ อายุกิจการ ระดับการศึกษา เงินลงทุน แหล่งที่มาของเงินทุนแตกต่างกันมีความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ต่างกัน ยกเว้นเพศที่ต่างกันมีความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ด้านความกล้าที่จะแข่งขันส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสูงสุด และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการมีอิสระในการบริหารงาน ตามลำดับ โดยมีความสามารถร่วมกันพยากรณ์ ร้อยละ 65.30


3. สภาพแวดล้อมภายนอกด้านสังคมและวัฒนธรรมส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสูงสุด และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ โดยมีความสามารถร่วมกันพยากรณ์ ร้อยละ 71.80


ข้อค้นพบจากงานวิจัยคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องกล้าที่จะแข่งขันกล้าเปิดตัวนำสิ่งใหม่เข้าสู่ตลาดการแข่งขัน โดยประยุกต์ผลิตภัณฑ์หรือรูปแบบบริการให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเพื่อการดำเนินกิจการของตนเองให้สำเร็จและได้เปรียบคู่แข่งในธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณิศร อุ่นเเสงจันทร์. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 618-629.

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2552). การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์ และอุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ. (2564). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทาธุรกิจที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยบิวด์ไบรท์ ในประเทศกัมพูชา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(5), 111-125.

ณัฐวุฒิ แสนขันติวิโรจน์ สุมาลี รามนัฏ. (2563). อิทธิพลความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสามารถของ

ผู้ประกอบการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

พัทธมน ธุระธรรมานนท์. (2564). ปัจจัยธุรกิจ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจเบเกอรี่บนออนไลน์(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ และคณะ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อักษรเงินดี.

ศรีบังอร รัตนวงศ์สวัสดิ์ และศรัณย์ ธิติลักษณ์. (2564). บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อกลยุทธ์ธุรกิจผ้าเปียก (WET WIPE) ในประเทศเมียนมาร์(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเทกซ์.

ศิวกร อโนรีย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดราชบุรี(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภวรรณ คงเสมา, สุภาษา บุญยงค์ และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). วัฒนธรรมองค์กร : เงื่อนไขสําคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12), 378-390.

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (11 ธันวาคม 2566). แผนปฏิบัติการของ สสว. ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.sme.go.th/uploads/file/20231112-120854_download-20231102104125%20(1).pdf

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). GDP MSME ไตรมาสแรกของปี 2563 และคาดการณ์ แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2563. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://www.sme. go.th/upload/mod_download/download-20200818155841 .pdf

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). สถิติและข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2566, จาก https://www.etda.or.th/digital-economy.html

สุทิศา รัตนวิชา. (2565). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานรา เดือน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 1-14.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลนในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 5(40), 33 – 42.

อโนมา ภาคสุทธิ, ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ และประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2564). การเสริมสร้างกรอบคิดทางจิตวิทยาการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนเขตกรุงเทพมหานครโดยรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด-พฤติกรรม. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 13(2), 156-179.

Dess, G. G., & Lumpkin, G. T. (2005). The Role of Entrepreneurial Orientation in Stimulating Effective Corporate Entrepreneurship. Academy of Management Executive, 19(1), 147-156.

Miller, D. (1983). The Correlates of Entrepreneurship in Three Types of Firms. Management Science, 29(7), 770-791.