แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นทางพระพุทธศาสนาของชุมชนชาวมอญ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นทางพระพุทธศาสนาของชุมชนชาวมอญ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่นของชุมชนชาวมอญ และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นทางพระพุทธศาสนาของชุมชนชาวมอญ
อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม คือ 1) ปราชญ์ชาวบ้าน 2) ผู้สูงอายุในชุมชน 3) กำนัน 4) ผู้ใหญ่บ้าน 5) เจ้าหน้าที่เทศบาล
ผลการวิจัยพบว่า การอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นของชุมชนชาวมอญ อ.สามโคก จ. ปทุมธานี โดยการปลุกจิตสำนึกให้กับเยาวชนตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมประเพณีและวัฒนธรรม ปลุกจิตจิตสำนึกการหวงแหนความเป็นคนท้องถิ่น การรักษาฟื้นฟู ให้มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่นของชุมชนชาวมอญ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี พบว่า ประเพณีสำคัญคือ ประเพณีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ประเพณีการละเล่น ประเพณีเทศกาลต่าง ๆ ในแต่ละประเพณีจะแฝงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ความกตัญญู คารวตา 6 หลักสาราณียธรรม 6 ความสามัคคี และ รูปแบบแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นทางพระพุทธศาสนามี 6 ประการ คือ 1) การอบรม บอกเล่าประเพณีต่าง ๆ จากครอบครัว 2) การถ่ายทอดบอกเล่า และการปฏิบัติตามจากรุ่นสู่รุ่น 3) การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น 4) การสร้างจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ทางประเพณีวัฒนธรรม 5) การส่งเสริมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 6) การเผยแพร่แลกเปลี่ยน
รูปแบบหรือแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีของชุมชนชาวมอญคือ การจัดโครงการเพื่อผึกอบรมเยาวชน โดยมีปราชญ์ชุมชนถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรมของชาวมอญ มีการร่วมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบเรียบง่าย เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์การละเล่นแบบพื้นบ้านของท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าโดยใช้วิถีการดำเนินชีวิตกับประเพณีวัฒนธรรม รู้ถึงคุณค่าของวัฒนธรรม และรักในบ้านเกิดของตนเองมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2545). สีเขียนภาพผนังถ้ำยุคโบราณในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เอ.พี.กราฟฟิก ดีไซน์และการพิมพ์.
ชูชีพ เยาวพัฒน์. (2553). กิจกรรม Activity. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นวมณฑ์ อุดมรัตน์. (2554). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ: กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
ปารีนันท์ เทศทอง. (2550). ชาวเชื้อสายมอญและเชื้อสายอื่น: กรณีศึกษาเจดีย์จำลองสำหรับบรรจุอัฐิ วัดคงคาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหาเหรียญชัย ก่อบุญ. (2552). ภูมิปัญญาการทำโลงมอญ การอนุรักษ์ การสืบสาน และการพัฒนา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล. (2560). กระบวนการสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ความเป็นมอญในพื้นที่เมือง: กรณีศึกษา ชุมชนมอญคลองบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
สิทธิโชค วิบูลย์ และ คณะ. (2554). การศึกษาการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมชาวมอญเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนศาลาแดงเหนือ จังหวดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(1), 144-145.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2542). ร้องรำทำเพลง: ดนตรีและนาฏศิลป์ของชาวสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มติชน.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2547.
อมาวสี ยิ้มอำนวย. (2536). ประเพณี ความเชื่อของชาวมอญบ้านม่วง จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำกลอง : พัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทายลัยศิลปากร.
อุดม เชยกีวงศ์ และคณะ. (2548). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.