ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมพลังอำนาจกับการทำงานเป็นทีมของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้

Main Article Content

จรรยพร ศรีชะฎา
มังกร หริรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบเสริมพลังอำนาจ 2) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเสริมพลังอำนาจกับการทำงานเป็นทีมของครูและบุคลากรทางการศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัยคือ สถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ จำนวน 12 แห่ง  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 247 คน ได้จากการคำนวณ โดยใช้สูตรของ Yamane โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05  ผลการวิจัยพบว่า


          1) ภาวะผู้นำแบบเสริมพลังอำนาจ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก


2) การทำงานเป็นทีมของครูและบุคลากรทางการศึกษา  สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


3) ภาวะผู้นำแบบเสริมพลังอำนาจมีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นทีมของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้  เป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษา ได้นำผลการวิจัยไปพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตฤทัย เมาไธสง. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมของผู้นำคณะกรรมการสโมสรนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 18-28.

เฉลิมขวัญ จ้านสกุล และ นุชนรา รัตนศิระประภา. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 117-137.

ณัฐวดี ใจช่วงโชติ และ เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2560). การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนวัดหลักสี่พิพัฒน์ราษฎร์อุปถัมภ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 438 -451.

ทิวา มีรัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมพลังอำนาจครูกับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(30). 64-74.

วิรันทร์ดา เสือจอย และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1157-1171.

ศักดิ์ดา คำโส, ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์, และ สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจทีมงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 170-182.

สิทธิพล พหลทัพ. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(2), 139-148.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2560). แนวคิดภาวะผู้นำแบบควันตัม. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก http://suthep.cru.in.th.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Conger, J. A & Kanungo, R. N. (1988). The Empowerment Process: Integrating Theory and Practice. Academy of Management Review, 13, 471-482.

Romig, D. A. (1996). Breakthrough Teamwork: Outstanding Result Using Structured Teamwork. Chicago: Irwin.

Yamane. T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. (3rd ed.) Singapore: Times Printer.