ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

Main Article Content

อนุชิต ทองเสน
มังกร หริรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 321 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งหมด 17 คน ครูผู้สอน 304 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  วิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอน โดยวิธี Stepwise ผลการวิจัยพบว่า


1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก


2) ระดับประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก


3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และต่ำที่สุดคือด้านการกระตุ้นทางปัญญา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 79.20


ข้อค้นพบจากการวิจัย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และการกระตุ้นทางปัญญา ส่งผลต่อประสิทธิผลในสถานศึกษาของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติศักดิ์ ปัญโญ และ ฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 135-148.

เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มนตรี.

ศิริรัตน์ อินดี และ อดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 77-91.

สัมมา รธนิตย์. (2553). หลักทฤษฎีและการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. สืบค้นจาก https://www.cpn2.go.th/plan-document

อภิรักษ์ บุปผาชื่น. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม: การขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 205-216.

อัคพงศ์ สุขมาตย์, ขจรศักดิ์ บัวรพันธ์และ พรชัย เจดามาน, ไพฑูรย์ พิมดี. (2560). ศตวรรษที่ 21 : การบริหารจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์กับประเทศไทยยุค 4.0. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาลบิวเดอร์.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. California: Sage Publications.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational Administration: Theory, Research and Practice. (6th ed.). New York: McGraw Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory Analysis. New York: Harper & Row.