ปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

Main Article Content

กมลทิพย์ สมมุ่ง
มังกร หริรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยจูงใจในสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่การวิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 119 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 321 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการคำนวณโดยใช้สูตรของ Yamane (1973) โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับปัจจัยจูงใจในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยภาพรวม ปัจจัยจูงใจในสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (r=0.940)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

จุติพร จินาพันธ์. (2560). แรงจูงใจของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐานิกา บุญโทน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาชลบุรีเขต 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐธิดา หม้อทอง, สมหญิง จันทรุไทย และ จันทรัตน์ ภคมาศ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แรงจูงใจของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนรัตนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(2), 50-62.

หัสนัย หัตถวงษ์ และ ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(2), 135-143.

สมุทร ชำนาญ. (2553). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง: พี.เอส.การพิมพ์

สมใจ บุญทานนท.์ (2551). การบริหารการขาย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. (2564). การวิเคราะห์สถานภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2564. ชุมพร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565, จาก https://www.obec.go.th.

Herzberg, F. M., B. & Synderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey & Sons.

Hoy, W. K., & Ferguson, J. (1985). A Theoretical Framework and Exploration of Organizational Effectiveness of Schools. Educational Administration Quarterly, 21(2), 117-134.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational Administration : Theory, Research and Practice. (8th ed.). Singapore: McGraw Hill.

Mott, P. E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York: Harper and Row.