การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาด้านการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้

Main Article Content

นิตยา เกตุแก้ว
มังกร หริรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการศึกษาด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัยคือ สถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ จำนวน 12 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 247 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของ Yamane (1973) โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า
      1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
      2. คุณภาพการศึกษาด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
      3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการประเมินผล ด้านการดำเนินการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการตัดสินใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .985 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 97.00 (R2=.970)


ข้อค้นพบจากการวิจัย การบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการประเมินผล ด้านการดำเนินการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการตัดสินใจส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาศึกษาเกษตรภาคใต้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกสินธุ์ สมุทรกลาง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 213-226.

จีระภา มีหวายหลึม. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

จินดา ใจเจ็น. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(1), 39-53.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

ปาริชาต แก้วสาร. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(2), 109-121.

รมย์นลิน ศรีสายหยุด. (2565). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ท-กรุงเทพ.

สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้. (2564). แผนพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2568). นครศรีธรรมราช: สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้.

สุพรรณนี กุลโสภิส. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

อรรถพล ปานอ่วม. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ 30 สังกัดสำนักการศึกษา สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 142-155.

Best, J. W. (1970). Research In Education. (2nd ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Developments. World Development, 8(3), 213-235.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York. Harper and Row Publications.