การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พรสวรรค์ บึงราษฎร์
อภิชา แดงจำรูญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและ.หาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับนักเรียนชั้น.ประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเป.รียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนวัดช่องนนทรี สำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร  2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาประวัติศาสตร์ เรื่องอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และกลุ่มควบคุมสอนโดยใช้การสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาประวัติศาสตร์ เรื่องอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า


1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประ.สิทธิภาพเท่ากับ 80.73/80.78 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรรณิการ์ กลับสกุล. (17 สิงหาคม 2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566, จาก https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/25980

เขมณัฏล์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 200 ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ. ซีเอ็ดยูเคชัน.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). Desktop Publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียนยุคดิจิทัล. กรุงเทพ ฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรชัย ศรรีสม.(2565). คู่มือการปฏิบัติงาน การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ของศูนย์การจัดการความรู้. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

นฤดี สงวนปุญญศิริ. (2 กรกฎาคม 2564). ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่องระบบนิเวศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566, จาก https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/25136

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-BOOK หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊ค.

ศยามน จำรัสสกุล. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, 2(1), 14-22.

Boonchoei, M., & Patamadilok, S. (2022). A Development of Electronic Books (E-Books) On Adjectives for Matthayomsuksa 4 Students in Saluang Pittayakom School, Phichit Province. Journal of Buddhist Education and Research, 8(3), 166-179.