ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อเสื้อกล้ามทอมของกลุ่มเพศทางเลือก ผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์

Main Article Content

พัฏฐ์ณิชา พัฒนศิริ
ศิระ ศรีโยธิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการเลือกซื้อ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อ และ3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรกลุ่มเพศทางเลือก ที่มีประสบการณ์ในการเลือกซื้อเสื้อกล้ามทอมผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า


1. ประชากรกลุ่มเพศทางเลือกที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันมีการเลือกซื้อ ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


2. ประชากรกลุ่มเพศทางเลือกที่มีช่องทางออนไลน์การเลือกซื้อ ความถี่ในการเลือกซื้อ และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเลือกซื้อต่อครั้งแตกต่างกันมีการเลือกซื้อ ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


3. ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการให้บริการส่วนบุคคล และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


องค์ความรู้จากงานวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าออนไลน์จะละเว้นซึ่งการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ไม่ได้ โดยศึกษาการสื่อสารทางการตลาดที่เหมะสมกับกลุ่มเพศทางเลือก และนำแนวคิดช่องทางการสื่อสารไปส่งเสริมการขาย จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ชัยอำนาจ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2566). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

จิดาภา ธัญญรัตนวานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 311-323.

ชยนันท์ จงเจริญชัยสกุล. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อชุดชั้นในของนักศึกษาทอม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 6(1), 735-748.

ดลนภัส ภู่เกิด. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในกรุงเทพ มหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

นรากร อมรฉัตร และณัฐทินี ราชประสิทธิ์. (2562). โครงการสร้างสรรค์สื่อโฆษณาเสื้อกล้ามทอมบอย มิสเตอร์ทอมส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

นัฐวรรณ มะลิโค. (2562). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 9(1), 133-143.

พัชรพร คำใส. (2565). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านค้าของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

รชต พันธุ์พูล. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ในจังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.

สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

สุภานัน เลาหมี่. (2566). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน Tiktok ของคนวัยทำงานใน เขตจังหวัดสมุทรปราการ. (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. (2564). เพศทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์.