กระบวนการเรียนรู้จินตวิศวกรรมบูรณาการหลักไตรสิกขา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ได้ทำการศึกษากระบวนการเรียนรู้จินตวิศวกรรม โดยนำเอาหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มาบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้จินตวิศวกรรมให้เป็นไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ คือมีศีลที่ดี (อธิศีลสิกขา) เพื่อรักษากายและวาจา ด้านจิตภาพ คือมีสมาธิที่ดี (อธิจิตสิกขา) เพื่อรักษาจิต ด้านปัญญาภาพ คือ มีปัญญาดี (อธิปัญญาสิกขา) เพื่อให้รู้เท่าทันโลกภายในและภายนอก สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยการคิดอย่างมีเหตุผล การฟัง การเรียนรู้ให้มาก และการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ หลักไตรสิกขาสามารถนำมาบูรณาการใช้ในกระบวนการเรียนรู้จินตวิศวกรรมได้ทุกขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การจินตนาการ 2) การออกแบบ 3) การพัฒนา 4) การนำเสนอ 5) การปรับปรุง และ 6) การประเมินผล การนำหลักไตรสิกขามาบูรณาการในกระบวนการเรียนรู้จินตวิศวกรรมส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้มีความละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ไม่ได้มุ่งเพียงแค่องค์ความรู้ที่นักเรียนจะได้รับ หากแต่ยังมุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ กายภาพ จิตภาพ และปัญญาภาพ ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังทั้งคุณธรรมและความรู้ควบคู่กันไป เป็นอุปนิสัยแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเกิดการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธงชัย สมบูรณ์. (2566) โลกหลังยุคใหม่: การศึกษาไทยที่ควรเป็น!. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566, จาก http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_pdf/thai_education_it_ShouldBe_31102558.pdf
ปรัชญนันท์ นิลสุข และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(86), 33-37.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 35) กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (30 กันยายน 2564). จินตวิศวกรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วอลต์ดิสนีย์อิเมจจิเนียร์ริง.
วิเลิศ ภูริวัชร. (20 พฤศจิกายน 2565). 4 เทรนด์การศึกษายุคใหม่ ที่น่าจับตามอง ผลิตคนรุ่นใหม่แบบ Lifeline Learning. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com /health/education/1038840.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย จำกัด.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2566, จาก https://dictionary.orst.go.th/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.
Wright, A. (2008). The Imagineering Field Guide to Disneyland. California: Disney Editions.