การจัดการเรียนการสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา 3) เพื่อเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา รูปแบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบทดลองขั้นต้น คือ การวิจัยเชิงทดลอง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนสหบำรุงวิทยา จังหวัดนครปฐม ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.72 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 3.76 รองลงมา คือด้านกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย = 3.74 และด้านคุณประโยชน์จากชุดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด = 3.69
2. ผลตามสมมติฐานการจัดการเรียนการสอน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสหบำรุงวิทยา โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีเพศ สถานภาพผู้ปกครอง และการเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมิฐาน
3. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครูควรนึกถึงพฤติกรรมหรือการแสดงออกของนักเรียน โดยพิจารณาจากผลงานหรือชิ้นงานที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนเกิดผลลัพธ์ปลายทางตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว และเกณฑ์ที่ใช้ประเมินควรเป็นเกณฑ์คุณภาพในรูปของมิติคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ครูอาจจะมีหลักฐานหรือใช้วิธีการอื่น ๆ เช่น การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การสัมภาษณ์การศึกษาค้นคว้า การฝึกปฏิบัติขณะเรียนรู้ประกอบด้วยก็ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชาญวิทย์ ชุมศรี และ พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2566). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนอัจฉริยะในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 1419-1436.
ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. (2566). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 471-480.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระจำรัส สวาสโพธิกลาง. (2559). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริธรรม 7 ในการบริหารจัดการชุมชน วัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระพันธ์เทพ เลิศรัตนะพงศ์สิน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2566). แนวทางการส่งเสริมการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราช จังหวัดปทุมธานี. วารสารธรรมวัตร, 4(1), 11-23.
พระมหาประทีป พรมสิทธิ์. (2545). การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยุทธศิลป์ ยุทุธสิปโป (อุปศรี). (2559). การบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุริยา ไชยประเสริฐ และ ภาสกร เรืองรอง. (2566). การพัฒนารูปแบบสื่อจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาด้วยการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1067-1077.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชัญ สมทบ. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 659-672.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist Integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75–86.