การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติงานเกษตร ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาเกษตรศาสตร์

Main Article Content

สุริยา บุญอาจ
สัจธรรม พรทวีกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานเกษตรของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1 สาขาเกษตรศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ และ2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบก่อนทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1 สาขาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 15 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะปฏิบัติงานเกษตร และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า


1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีพัฒนาการทักษะการปฏิบัติงานเกษตรเพิ่มขึ้น โดยการวัดพัฒนาการครั้งที่ 1 นักเรียน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 53.33 มีพัฒนาการระดับกลาง และนักเรียน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67 มีพัฒนาการระดับต้น ครั้งที่ 2 นักเรียน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 มีพัฒนาการระดับสูงมาก นักเรียน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67 มีพัฒนาการระดับสูง และนักเรียน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 มีพัฒนาการระดับกลาง และครั้งที่ 3 นักเรียน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 มีพัฒนาการระดับสูงมาก และนักเรียน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 มีพัฒนาการระดับสูง 


2) นักเรียนมีพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลวดี สอนกลิ่น. (2553). ความหมายของเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565, จาก www.l3nr.org/posts/403148.

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาอาชีวศึกษาไทย. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 2(2), 1-9.

งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. (2564). รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2564. อุทัยธานี: วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีอุทัยธานี.

ชาญสิปป์ ศิลารัตน์. (2560). การเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ โดยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบของเดวีส์ที่มีเว็บสนับสนุน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบรบือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทัศนีย์ การเร็ว. (2554). ผลการจัดกิจกรรมเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(3-4), 21-30.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิโลบล นิ่มกิ่งรัตน. (2531). การวัดผลภาคปฏิบัติ. วารสารการวัดผลและวิจัยการศึกษา, 4(29), 24-43

ประสาท อิศรปรีดา. (2523). จิตวิทยาการเรียนรูกับการสอน. กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ต

ปิยะสุดา เพชราเวช. (2564). แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ในยุคโควิด. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธิ ศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 103-115.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟเคอร์มิสท์.

ระบบบริหารสถานศึกษา ศธ.02 ออนไลน์ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ. (1 พฤษภาคม 2561). วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี สืบค้นข้อมูลวันที่ 1 เมษายน 2565, จาก https://std2018.vec.go.th/web/

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2527). หลักการสร้างแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

วุฒิไกร ศาสสนสุพิน และคณะ (2563). การพัฒนาทักษะปฏิบัติ วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 6(2), 306-312.

ศุภกร แก้วละเอียด และเจนจิรา มีบุญ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยรัตภูมิ. (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา สังขทัศน์. (2556) การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้แนวคิด Balanced Scorecard (BSC).วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ, 8(1), 99- 112.

สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ. (2535). การวัดผลการเรียนภาคปฏิบัติ. สารพัฒนาหลักสูตร, 11(112), 15-18.

สมชาย บุญสุ่น. (2554). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3), 47-57.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2565, 17 พฤษภาคม). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (ปรับปรุง พ.ศ 2565)

อรวรรณ ธนูศร. 2561. ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อรรถวัตร ทิพยเลิศ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการปฏิบัติกีตาร์ตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 ประจำปี 2560. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Scott, W.A. (1955). Reliability of content analysis: the case of nominal scale coding. Public Opinion Quarterly, 19(3), 321-325.