การสร้างองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ภคพร ใจมาก
สิทธิชัย มูลเขียน
ธีระภัทร ประสมสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษาเรื่องการสร้างองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13 คน และข้าราชการครู จำนวน 80 คน ในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 97 คน ปีการศึกษา 2566 ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการมีความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านการมีความเข้าใจผู้อื่น ,ด้านการมีสังคมดี ,ด้านการมีสุขภาพดี และด้านการติดต่อสัมพันธ์ที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก้านทอง บุหร่า. (2560 ). องค์กรแห่งความสุข : แนวคิด กระบวนการและบทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษยวารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 169-176.

กรมสุขภาพจิต. (2553). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เกสร มุ้ยจีน. (2559). การสร้างความสุขด้วยจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(4), 673-681.

ขวัญจิรา จำปา, สุวดี อุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และ พูนชัย ยาวิราช. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพของชุมชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 430-447.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และ ธิร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว. (2560). องค์กรแห่งความสุข 4.0. กรุงเทพฯ: แอทโฟรพริ้นท์.

ณัฏฐนันท์ อ่ำขวัญยืน และ จิราพร ระโหฐาน. (2566). ความยุติธรรมในองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1013-1028.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการทำวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

บุญเรือง ไตรเรืองวัฒน์. (2561). กรมสุขภาพจิตแนะวัยทำงานใช้ 5 เทคนิคสร้างความสุขขณะทำงานพร้อมเพิ่ม บริการเช็คลิสต์ความสุข. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.prdmh.com

ปรียานุช ธะนะฉัน, นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารนวัตการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 1-12.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิรพงศ์ พงศ์เชื้อทอง และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2566). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากาญจนบุรี.วารสารนวัตการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 13-24.

อธิคุณ สินธนาปัญญา. (2557). การบริหารความสุขในสถานศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(88), 15-32.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.