ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจทำความสะอาด ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นริศรารัตน์ ศรีฉันทมิตร
ประเชิญ ติยะปัญจนิตย์
ฐนันวริน โฆษิตคณิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานทำความสะอาดของบริษัททำความสะอาดในกรุงเทพมหานครและ 2)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจทำความสะอาดในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย เป็นลูกค้าที่เคยรับบริการของบริษัททำความสะอาด ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 1 ชนิด คือแบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพของธุรกิจทำความสะอาดในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเมื่อพิจารณาเรียงตามลำดับในแต่ละด้าน ได้ดังนี้ ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านความถูกต้องในการปฏิบัติงาน ด้านความรวดเร็วในด้านการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จตรงเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ และด้านลักษณะงาน
          2. ผลจากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจทำความสะอาด สามารถสรุปได้ว่า เพศไม่มีผลต่อความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่วนอายุ การศึกษา จำนวนครั้งจากการใช้บริการของบริษัททำความสะอาด/ปีมีผลต่อความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของธุรกิจทำความสะอาด


งานวิจัยนี้พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้รับบริการจากบริษัทรับทำความสะอาด ได้แก่ ความรวดเร็วความถูกต้องความสามารถความมีมนุษยสัมพันธ์และความสำเร็จตรงเวลาในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำนงค์ นามมา และ จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2564). มิติของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 779-790.

ชญานิษฐ์ ไชยวิชิต, วิเชียร วิทยอุดม และ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงบประมาณสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 6(2), 43-53.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจทีส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของข้าราชการทหารประจำสังกัดกอง พันทหารราบที 1 กรมทหารราบที 7(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธนพล แสงจันทร์. (2556). อิทธิพลคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานผ่านความผูกพันขององค์กรของพนักงานบริษัทประกันภัย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 395-412.

พรนภา เปี่ยมไชย, เบญจวรรณ ศฤงคาร, อัฐพงษ์ ธีระคานนท์, พรนภา ปุรินทราภิบาล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักกษาปณ์. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุยศาสตร์และสังคมศาสาตร์, 3(1), 56-68.

พรรณี จรัมพร. (2548). เศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท้อป.

แพรพรรณ ตรีชั้น และคณะ. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. Journal of Management Science, 7(2), 230-243.

วรัครศิริ โหตระไวศยะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี, 9(2), 97-125.

อภิญญา วิจิตรเศรษฐกุล. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาล. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Kulchanarat, C., & Yuenyongchaiwat, K. (2020). Prevalence of sarcopenia in heart failure and its association factors: A Systematic Review. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine, 64(5), 333–344.

Pinnacle X Outsourcing. (2018). Top 10 Reasons to Outsource. Retrieved from https://pxoutsourcing.com /blog/top-10-reasons-for-businesses-to-outsource-payroll-administration/

Pramojanee, S. (2014). Factors Affecting the Efficiency Performance of Employees’ PCS Security and Facility Services Company Limited. Rajapark Journal, 16(44), 328-337.

Schwartz, S, H. (2008). Cultural Value Orientations: Nature & Implications of National Differences (Master’s Thesis). The Hebrew University of Jerusalem.