ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและจังหวะเพื่อส่งเสริม การกำกับตนเองในเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ณัชชา สนธิ
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและจังหวะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กชาย – หญิง อายุ   5 - 6 ปี กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/5 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและจังหวะ และแบบสังเกตการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและจังหวะ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม โดยค่าเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมคือ 21.33 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 1.66 ค่าเฉลี่ยหลังการจัดกิจกรรมคือ 24.87 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 1.50 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการกำกับอารมณ์ รองลงมาคือ ด้านการกำกับพฤติกรรม และด้านการกำกับความคิดตามลำดับ เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและจังหวะ มีพฤติกรรมการกำกับตนเองได้ดีมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านกำกับอารมณ์ เด็กสามารถแสดงอารมณ์ สีหน้า ท่าทางได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ด้านการกำกับความคิด เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ตนเองทำมากขึ้น สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี และในด้านการกำกับพฤติกรรม เด็กสามารถควบคุมตนเองให้แสดงพฤติกรรมที่เหมาสมออกมาได้ สามารถปฏิบัติตามกฎ กติกา  ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นารีรัตน์ จันทวฤทธิ์ , นันทา โพธิ์คํา และวีณา ภาคมฤค. (2564) ดนตรีกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 5(2), 237-248.

พวงแก้ว ปุณยกนก. (2546). การประเมินพุทธิพิสัย. สุวิมล ว่องวาณิช (บรรณาธิการ). รวมบทความการประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราวุธ โพพันทะราช. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะที่ส่งเสริมทักษะการเต้นรำของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2557). การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA เพื่อพัฒนา การกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 297 – 308.

สุทธิรัตน์ เพชรทิม. (2552). การศึกษาความสามารถในการพูดของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง โดยใช้กิจกรรมเพลง(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Diamond, A. (2013). Executive Functions. Annual Review of Psychology, 64, 135-168.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Bronson, M. B. (2000). Self-Regulation in Early Childhood: Nature and Nurture. New York: The Guilford Press.

Williams, K. E., Savage, S., & Eager, R. (2019). Rhythm and Movement for Self-Regulation (RAMSR) Intervention for Preschool Self-Regulation Development in Disadvantaged Communities: A Clustered Randomised Controlled Trial Study Protocol. BMJ Open, 10(9), 1- 11.

Mischel, W., Shoda, Y., & Peake, P. K. (1988). The nature of adolescent competencies predicted by preschool delay of gratification. Journal of Personality and Social Psychology, 54(4), 687–696.

Oregon’s Early Learning and Kindergarten Guidelines (2011). Oregon’s Early Learning and Kindergarten Guidelines. United States: Oregon.

Piaget, J. (1952). The Origins of Intelligence in Children. New York: International Universities Press.

Rimm-Kaufman, S. E., Curby, T. W., Grimm, K. J., Nathanson, L., & Brock, L. L. (2009). The Contribution of Children’s Self-Regulation and Classroom Quality to Children’s Adaptive Behaviors in The Kindergarten Classroom. Developmental Psychology, 45(4), 958–972.

Matthews, S. B. (2008). The Relationship Among Self-Regulation, Sociodramatic Play, and Preschoolers' Readiness for Kindergarten. Massachusetts: Northeastern University.

Williams, K. (2018). Moving to the Beat: Using Music, Rhythm, And Movement to Enhance Self-Regulation in Early Childhood Classrooms. International Journal of Early Childhood, 50(1), 85-100.