ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานที่มีผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ
ถิรวิท ไพรมหานิยม
ธารณา สุวรรณเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อศึกษาทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้โครงงาน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้โครงงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 4 จำนวน 41 คน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้โครงงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้โครงงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาd


จากการศึกษางานวิจัยนี้พบว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะการสอนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นความกระตือรือร้น การทำงานแบบร่วมมือ การบูรณาการทักษะ การสะท้อนคิด และการประยุกต์ใช้ความรู้ นอกจากนี้ยังค้นพบอีกว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานช่วยเตรียมผู้เรียนหรือนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความพร้อมที่จะเป็นครูหรือประกอบอาชีพครูที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญารัตน์ เอี่ยมวันทอง. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน การสื่อสารภาษาอังกฤษในรูปแบบโครงงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(1), 16-29.

กาญจนา คุณารักษ์. (2561). สู่ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 1-7.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง หน้า 18-20 (20 มีนาคม 2562).

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ฐิตินันท์ พูลศิลป์. (2563). การบูรณาการกระบวนการสอนแบบโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), 95-109.

นราวิชญ์ ศรีเปารยะ และ พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ. (2561). การพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13 (1), 247-262.

นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 21-33.

พรรณวดี ขำจริง และกัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ. (2560). องค์ประกอบของคุณลักษณะนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 127-149.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังกัดที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ภาวิณี เดชเทศ. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 ในการส่งเสริมสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการสื่อสารผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษ. วารสารครุพิบูล, 3(2), 97-108.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2556). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (6) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.

วิไลวรรณ วงศ์จินดา และธีรชาติ นุสโส. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานวิชานวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารนาคบุตรปริทรรศ์, 13(2), 1-8.

สิทธิพล อาจอินทร์ และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย มข, 1 (1), 1-16.

อาภาพรรษ์ เรืองกุล. (2561). การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีต่อการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานในการสอนทักษะการพูด. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 65-73.

อุมาพร ยุวชิต และกษิดิษ วัชรพรรณ. (2565). การจัดการเรียนรู้ในรายวิชารูปแบบและการใช้ภาษาอังกฤษสมัยใหม่โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 13(1), 68-86.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2557). การพัฒนาแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครูของกลุ่มวิชาชีพครู (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Bell, S. (2010). Project-Based Learning for the 21st Century: Skills for the Future. The Clearing House, 83, 39-43.

Chun-Ming, H., Gwo-Jen, H., & Iwen, H. (2016). A Project-based Digital Storytelling Approach for Improving Students' Learning Motivation, Problem-Solving Competence and Learning Achievement. Journal of Educational Technology & Society, 15(4), 368-379.

Dewey, J. (1926). Democracy and Education. Boston: Houghton Mifflin.

Fried-Booth, D. (2002). Project Work. Great Britain: Oxford University Press.

Katz, L. G., & Chard, S. (2002). Engaging Children’s Minds the Project Approach. USA: Ablex Publishing Corporation.

Kirschner, P. A., & van Merriënboer, J. G. (2013). Do Learners Really Know Best? Urban Legends in Education. Educational Psychologist, 48(3), 169-183.

Ormrod, J. E. (2011). Essentials Of Educational Psychology: Big Ideas to Guide Effective Teaching. New Jersey: Pearson.

Ulrich, C. (2016). John Dewey and the Project-based Learning: Landmarks for Nowadays Romanian Education. Journal of Educational Sciences and Psychology, VI(LXVIII), 54-60.