การจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

นงนุช ศรีสุข
เบญญาดา กระจ่างแจ้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนแบบครบวงจร กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน จำนวน 15 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงบริบทของเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า การจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์การบริหารส่วนตำบลปะตง พบว่า มีการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้หลักการ 3R คือ ลดการเกิดขยะ การใช้ซ้ำ และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ส่วนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนแบบครบวงจร พบว่า เกิดจากการประยุกต์ใช้หลัก A-I-C การสร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะและเทคโนโลยีในการจัดการขยะที่เหมาะสม ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของขยะ 2) การจัดการขยะแต่ละประเภท และ 3) การจัดโครงสร้างการทำงานของแต่ละชุมชน ดังนั้น ควรรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนให้มีการคัดแยกขยะ มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างทั่วถึง และควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้นำขยะมาเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปด้วยการประดิษฐ์เป็นผลิตสินค้าใหม่ เป็นของที่ระลึกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2561). แนวทางการจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero waste) ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก https://datacenter.deqp.go.th/ media /878609/guideline-zero waste61

กองเศรษฐกิจการการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8404

เนทิยา กรีธาชาติ. (2565). Zero waste แนวคิดขยะเหลือศูนย์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก https://www.up.ac.th/TH/NewsReadBlog2.aspx?itemID=24584.

ภัทราพร แย้มละออ. (2561). Circular economy เศรษฐกิจหมุนเวียนโอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก http://www.allaroundplastics.com/article/sustainability /1898?fbclid=IwAR3HIc46QCE485gRGLFM7CK-N56wgqhmm2CrmNbrMWb-jJYRXn16XItOlo.

ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และคณะ. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Channawa, K., & Paileeklee, S. (2014). Solid Waste Management Behavior of People in Tumbon Naklang Naklang District Nong-Bua Lamphun Province. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 2(3), 263-271.

European Environment Agency. (2019). Preventing Plastic Waste in Europe (EEA Report No 02/2019). Luxembourg: Publications Office of the European Union.

Hanphichai, S., & Janla, J. (2018). Public Participation in Waste Management of Lamnarai Municipality, Chaibadan District, Lopburi Province. Suranaree Journal of Social Science, 12(1), 67-85.

Jongyin, T., Pukvilai, N., Ounsaneha, W., Popradit, A. (2018). The Solid Waste Management System of Local Administrative Organization: A Case Study of Saraburi Province. VRU Research and Development Journal, 13(1), 86-97.

Kalmykova, Y., Sadagopan, M. & Rosado, L. (2018). Circular Economy – from Review of Theories and Practices to Development of Implementation Tools. Resources, Conservation and Recycling, 135, 190-201.

Piyasakulkiat, O. (2016). The People’s Participation to Waste Management in Thakhae Sub-District Administration Organization, Lopburi Province. Journal of Graduate Research, 10(1), 106-115.

Wang, W., Yuan, W., Chen, Y., & Wang, J. (2018). Microplastics In Surface Waters of Dongting Lake and Hong Lake, China. Science of the Total Environment. Science of The Total Environment, 633, 539-545.

Wu, Hua-qing., Shi, Y., Xia, Q., & Zhu, Wei-dong. (2014). Effectiveness of the Policy of Circular Economy in China: A DEA-Based Analysis for The Period of 11th Five-Year-Plan. Resources, Conservation and Recycling, 83, 163-175.

Wuttingam, H., & Saithanoo, S. (2014). The Guideline for Solid Waste Management at Household Level in Paluru Sub-District Municipality. AL-NUR, 9(16), 121-130.