การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานอีสปสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

ถิรวิท ไพรมหานิยม
ชลชลิตา กมุทธภิไชย
อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานอีสปให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานอีสป และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้นิทานอีสป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 28 คน โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดกำแพงเพชร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แผนจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานอีสป 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้นิทานอีสป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และ T-test (dependent sample) ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานอีสป เท่ากับ 76.76 (E1) และ 77.74 (E2) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) การวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานอีสป พบว่า ผลการทดสอบก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.11 คะแนน และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.32 คะแนน ในทำนองเดียวกันคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้นิทานอีสปภาพรวมอยู่ในระดับมาก


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ การนำนิทานอีสปมาออกแบบเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการคิดวิเคราะห์ช่วยเพิ่มพูนทักษะด้านการหาความสัมพันธ์เนื้อหา นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถแยกแยะข้อเท็จริงจากเรื่องที่อ่านและนำข้อคิดคติสอนใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญเกื้อ แสงแก้ว. (2565). การพัฒนาสื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 94-106.

ฐิติชญา บรรเรียนกิจ. (2562). การใช้หนังสือนิทานอีสปเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรพรรณ ใจซื่อ. (2563). รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษโดยใชนิทานอีสปสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนบ้านคลองนามิตรที่ 201.

ภัทราวรรณ กวาวสาม และพระมหาสุริยา แซ่ย่าง. (2566). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย. วารสารนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย, 5(2), 439-444.

รัตนาวดี พรรมเดช และ ภัทรลดา วงษ์โยธา. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอานภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยนิทาน. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 1(2), 1-21.

วัชราภรณ์ แสงพันธ์ และ นิตยา เปลื้องนุช. (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4(ฉบับพิเศษ), 128-135.

ศราวุฒิ ศิริวัฒน์ และ ภัทรลดา วงษ์โยธา. (2561). การศึกษาการใช้นิทานอีสปเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 1(1), 13-32.

อมรลักษณ์ สัพโส และ เพ็ญณี แนรอท. (2550). การพัฒนาแบบฝึกสมองทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสปพื้นบ้านประกอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1(2), 231–239.

Davis, M., and Potter, B. (2013). Fables and Stories. Core Knowledge Foundation. [Online], Retrieved July 20, 2022, from https://t.ly/LetZ8

EF Education First. (2022). EF English Proficiency Index 2022: A Ranking of 111 Countries and Regions by English Skills. [Online], Retrieved February 20, 2022, from https://t.ly/4GlI

Fathi, H. (2015). Learning Critical Thinking through Aesop’s Fables. The Reading Matrix: An International Online Journal, 15(2), 68-80.

Grabe, W. (2022). Reading in a Second Language: Moving from Theory to Practice (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Hindes, M., and Switzer, S. (2003). Critical Thinking and Classic Tale. Ohio: Remedial Publications.

Huang, H. (2020). The Use of Aesop's Fables in the EFL Classroom: A Case Study of Taiwanese College Students. English Language Teaching, 13(11), 116-123.

Hurst, K. (2019). The Value of Aesop's Fables in the English Language Classroom. ELT Journal, 73(1), 3-13.

Kasim, U., Raisha, S. (2017). EFL Students’ Reading Comprehension Problems: Linguistic and Non-Linguistic Complexities. English Education Journal (EEJ), 8(3), 308-321.

Pachina, E. (2020). The Importance of Reading in Language Acquisition. International TEFL and TESOL Training. Retrieved May 25, 2023, from https://t.ly/-1Vz

Pantito, B. (2020). Development of Teaching Critical Reading Skills Through Reading Strategies for Enhancing Readers Based Linguistics Synthesis. Mahachula Academic Journal, 7(2), 330–342.

Smith, J., and Jones, R. (2018). The Effectiveness of Aesop's Fables as a Tool for Improving Critical Thinking Skills in Students. Journal of Educational Psychology, 110(2), 312-321.

Wilson, A., Brown, S., and Lee, J. (2022). Using Aesop's Fables to Promote Critical Thinking Skills in Diverse Student Populations. Journal of Multicultural Education, 16(1), 1-14.