การบรรลุธรรมของพระอนุรุทธเถระ

Main Article Content

พระวิโรจน์ รูปดี
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและการสั่งสมบารมีของพระอนุรุทธเถระ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมของพระอนุรุทธเถระ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คัมภีร์ปกรณ์วิสุทธิมรรค เป็นต้น ตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุง แก้ไข เรียบเรียงด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา การศึกษาพบว่า การศึกษาการบรรลุธรรมของพระอนุรุทธเถระ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนที่ 1 ประวัติและการสั่งสมบารมีของพระอนุรุทธเถระ พระอนุรุทธเถระ ท่านเป็นโอรสของเจ้าชายอมิโตทนะ มีพี่น้อง 2 พระองค์ คือ 1) มหานามะ พระเชษฐา (พี่ชาย) และ 2) โรหิณี พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) การสั่งสมบารมีของพระอนุรุทธเถระ คือ ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ท่านเห็นภิกษุรูปหนึ่งอัน
พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีตาทิพย์ จึงได้ทำความปรารถนาไว้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นความสำเร็จแห่งความปรารถนานั้น จึงทรงพยากรณ์ว่าในอนาคตท่านจักเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย คือ เป็นผู้มีตาทิพย์ ในส่วนที่ 2 การบรรลุธรรมของพระอนุรุทธเถระ ท่านได้เรียนกรรมฐานในสำนักของพระสารีบุตร ขณะที่ท่านกำลังตรึกมหาปุริสวิตก 7 ข้ออยู่นั้น พระพุทธเจ้าทรงให้ท่านตรึกมหาปุริสวิตกต่อไปเป็นข้อที่ 8 พระอนุรุทธะเถระ พิจารณาตามแนวเทศนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำจนเกิดความรู้แจ้งและได้บรรลุอรหัตตผล ทำให้ท่านมีคุณวิเศษ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระคันธสาราภิวงศ์. (2550). โพธิปักขิยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

พระราชธรรมนิเทส (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2537). นิเทศธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธีรพงษ์การพิมพ์.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.