นครปฐมโมเดล : นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อเตรียมตัวคลอดของ ผู้รับบริการต่างชาติในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุนันทา เอ๊าเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ กับผู้รับบริการชาวต่างชาติในโรงยาบาล จังหวัดนครปฐม  2) เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการชาวต่างชาติในจังหวัดนครปฐมในงานห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 35 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ชุดเครื่องมือนครปฐมโมเดล


 ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ กับผู้รับบริการชาวต่างชาติในจังหวัดนครปฐม เป็นชุดเครื่องมือที่พัฒนาเพื่อจัดการปัญหาในการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการชาวพม่า ในงานห้องคลอดคือ ผู้รับบริการไม่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่เป็นภาษาไทยได้ จึงมีผลต่อการสื่อสารในขั้นตอนต่างๆ เช่น การเตรียมเอกสาร การซักประวัติ หรือข้อมูลการตั้งครรภ์ เป็นต้น 2) ผลจากการถ่ายทอดนวัตกรรมการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ กับผู้รับบริการชาวต่างชาติในจังหวัดนครปฐมในงานห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม พบว่า ชุดเครื่องมือนครปฐมโมเดลสามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในงานห้องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ โดย มีความพอใจในชุดเครื่องมือในระดับมาก และ มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ดารณี จันฤาไชย และคณะ, ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอด ต่อความเครียด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฟั่น อาจารโร. วารสารสภาพยาบาล, 28(1) , 100-109.

เพ็ญแข จันทร์ราช และ อภิญญา จำปามูล. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 23-32.

ระวิรัฐ รุ่งโรจน์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยใช้โปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 8(1), 60-70.

วรัญญภัสสร์ สิรินิธิยประภา. (2560). การพัฒนาการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้งในชีวิตคู่ของคู่สมรสเจนเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Mercer, R. T. (1988). Relationship of the Birth Experience to the Late Mothering Behavior. Journal of Nurse-Midwifery, 30(4), 204-211

Parnchinda W., & Romphoree N. (2009). Role and Characteristics of Nurses in Cross-Cultural Nursing. Bangkok: Siam University.