การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และ งานกราฟิก โดยใช้กระบวนการดีไซน์สปริ้นท์ เพื่อส่งเสริมการเป็น นักออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ณัฐรดา แย้มกาญจนวัฒน์
พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และงานกราฟิก โดยใช้กระบวนการดีไซน์สปริ้นท์ เพื่อส่งเสริมการเป็นนักออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และงานกราฟิก โดยใช้กระบวนการดีไซน์     สปริ้นท์ เพื่อส่งเสริมการเป็นนักออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้กระบวนการดีไซน์สปริ้นท์เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนวัดบางน้อย(แจ่มประชานุกูล) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 12 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มโดยใช้รูปแบบหลายขั้นตอนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม และหลังจากนั้นใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และงานกราฟิก ด้วยกระบวนการดีไซน์สปริ้นท์ เพื่อส่งเสริมการเป็นนักออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบประเมินผลงานสร้างสรรค์การออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และงานกราฟิก 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเป็นนักออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1. คุณภาพกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และงานกราฟิก โดยใช้กระบวนการดีไซน์สปริ้นท์ เพื่อส่งเสริมการเป็นนักออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับดี


2. ผลการประเมินกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และงานกราฟิก โดยใช้กระบวนการดีไซน์สปริ้นท์ เพื่อส่งเสริมการเป็นนักออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1 อยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล. (2559). องค์ประกอบศิลป์เพื่องานกราฟิก. ปทุมธานี: มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

ปาพจน์ หนุนภักดี. (2555). หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

พงศ์ธร หิรัญพฤกษ์ และ ชวณัฐ สุวรรณ. (2559). เครื่องหมายกับความหมาย. กรุงเทพฯ: คัดสรร ดีมาก.

พาศนา ตัณฑลักษณ์. (2526). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ และ กฤษณวงศ์ ศิวะพราหมณ์สกุล. (2565). การประยุกต์ใช้กระบวนการดีไซน์สปริ้นท์ (Design Sprint) ร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์ เพื่อพัฒนาความคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษาชั้น ปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(1), 423-440.

โรงเรียนวัดบางน้อย (แจ่มประชานุกูล). (2563). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดบางน้อย (แจ่มประชานุกูล) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. สมุทรสงคราม: โรงเรียนวัดบางน้อย (แจ่มประชานุกูล).

วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2561). ระเบียบวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สาโรจน์ดิจิตอลปริ้นท์แอนก๊อปปี้เซ็นเตอร์

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาคาพับลิเคชั่น.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2527). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: วิฌวลอาร์ต.

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2558). ประวัติศาสตร์การออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวนศรี ศรีแพงพงษ์. (2543). สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุทธิศักดิ์ ธัญศรีสวัสดิ์กุล. (2529). ออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนโตร์

อารี สุทธิพันธุ์. (2527). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review, 86, 84-92.

Choueiri, L. S., & Mhanna, S. (2013). The Design Process as a Life Skill. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 93, 925-929.

Cross, N. (2006). Designerly Ways of Knowing. London: Springer.

Hummell, L. (2006). Synectics for Creative Thinking in Technology Education. Technology Teacher, 66(3), 22-27.

Schoell, W. F., Guiltinan, J. P. (1988). Marketing: Contemporary Concepts and Practices. Boston: Allyn and Bacon.