การประยุกต์ใช้ศีล 5 โดยมีหลักเบญจธรรมมาสนับสนุนในการดำเนินชีวิตยุคใหม่

Main Article Content

พระมหาสนิท หาญเชี่ยว
พระมหาปราโมทย์ แก้วนา
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศีล 5 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนศีล 5 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ศีล 5 โดยมีหลักเบญจธรรมมาสนับสนุนในการดำเนินชีวิตยุคใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ เรียบเรียง สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ศีล หมายถึง หลักจริยธรรมพื้นฐานของการพัฒนาจิต เป็นข้องดเว้นจากอกุศลทางกายและวาจา ศีล 5 ข้อ คือ (1) เว้นจากการฆ่าสัตว์ (2) เว้นจากการลักขโมย (3) เว้นจากการประพฤติผิดในกามประเพณีทั้งหลาย (4) เว้นจากการพูดโกหก พูดเพ้อเจ้อ พูดหยาบคาย (5) เว้นจากดื่มสุราและเมรัยซึ่งทำให้เกิดความประมาท หลักเบญจธรรม 5 ได้แก่ (1) ความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และกรุณาคือ ความต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (2) ประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต (3) มีความยินดีพอใจในคู่ครองของตน (4) การพูดความจริง พูดเป็นประโยชน์ต่อตนและผู้อื่น (5) ไม่ประมาท ความรู้ตัวทั่วพร้อมเป็นธรรมที่เอื้อกับสติทั้งในขณะคิด ขณะพูด และขณะกระทำสิ่งใด ๆ หลักเบญจศีล–เบญจธรรม เป็นหลักมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นข้อปฏิบัติฝ่ายศีล และธรรมที่สนับสนุนกัน เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กันเพื่ออประโยชน์สุขนิยมที่ดีให้แก่ตนเองและสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญมี แท่นแก้ว. (2539). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระเทวินทร์ เทวินฺโท. (2544). พุทธจริยศาสตรจิรยศาสตร์ และจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นงลักษณ์ ครุฑแก้ว.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน), (2533). มนุษยธรรม.กรุงเทพฯ: ชวนการพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรมมิก.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist Integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.