วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการประพฤติอาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระบุญเลิศ เชียงรัมย์
พระมหาปราโมทย์ แก้วนา
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอาจริยวัตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาอันเตวาสิกวัตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการประพฤติอาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ เรียบเรียง สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า อาจริยวัตร คือ วัตรที่อันเตวาสิกประพฤติปฏิบัติต่ออาจารย์มี 4 ประเภท ได้แก่ 1) อาจารย์ในบรรพชา 2) อาจารย์ในอุปสมบท 3) อาจารย์ผู้ให้นิสัย 4) อาจารย์ผู้ให้อุเทศ สาระความสำคัญของอาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตรคือ อาจารย์ปฏิบัติกับอันเตวาสิกเสมือนว่าเป็นบุตร อันเตวาสิกปฏิบัติกับอาจารย์เสมือนว่าเป็นบิดา ความสัมพันธ์ระหว่างการประพฤติอาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตร ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างอาจริยวัตร ที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำหน้าที่ต่ออาจารย์ด้วยการเอาใจใส่ และอันเตวาสิกวัตร คือ วัตรของอาจารย์ที่จะต้องดูแลและเอาใจใส่ต่อลูกศิษย์ด้วยการฝึกมารยาท ให้ความรู้ต่าง ๆ มีความรักและความเมตตาให้ความรู้ความดีงามแก่ศิษย์ เพื่อการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อพระอาจารย์ และการประยุกต์ใช้อันเตวาสิกวัตรคือ การปลูกฝังคุณธรรมต่อลูกศิษย์ มีความเคารพต่ออาจารย์ ทำให้เกิดความรักและความผูกพันเป็นแบบอย่างที่ดีมีความเมตตาและ ปรารถนาดีต่อกันและกันระหว่างพระอาจารย์กับศิษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ป. หลงสมบุญ. (2550). พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพฯ: วัดปากน้ำภาษีเจริญ.

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). สถานการณ์พระพุทธศาสนากระแสไสยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). (2540). คู่มือพระอุปัชฌาย์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการดำเนินการฝึกซ้อมอบรมพระอุปัชฌาย์ส่วนกลาง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). สอนนาค-สอนฑิต : ชีวิตพระ-ชีวิตชาวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

พระสุริยา ไชยประเสริฐ และ ภาสกร เรืองรอง. (2566). การพัฒนารูปแบบสื่อจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาด้วยการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1067-1077.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.