ฌานในฐานะเป็นบาทฐานของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

พระมหาประทีป สุขเสน
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาฌานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิปัสสนาภูมิในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และ 3) เพื่อศึกษาฌานในฐานะเป็นบาทฐานของการปฏิบัติวิปัสสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค เป็นต้น ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ฌานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทฌาน หมายถึง การเพ่ง หรือ เผา องค์ฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา โดยการเลือกเพ่งอารมณ์สมถกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะกับจริตของตน เมื่อสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิ จึงบรรลุปฐมฌาน ฝึกวสีในปฐมฌานนั้นคือเข้า - ออก ในปฐมฌานให้มีความชำนาญ เพื่อเป็นประโยชน์แก่องค์ฌานเบื้องสูง การเจริญวิปัสสนาต้องอาศัยภูมิแห่งปัญญา ที่เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ พิจารณาให้เกิดปัญญา เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ได้แก่ ขันธ์ 5 เป็นต้น เมื่อจิตให้มีความตั้งมั่นในฌานก่อนแล้วเจริญวิปัสสนาเพื่ออบรมจิตโดยมีจุดหมายสูงสุดอยู่ที่มรรค ผล นิพพาน เมื่อเจริญสมถภาวนาจนได้สมาธิระดับอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิบรรลุปฐมฌานควรเข้าปฐมฌานก่อนเพื่อให้ฌานเป็นบาท ออกจากปฐมฌาน แล้วกับมาพิจารณาสังขาร ปฏิบัติจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานด้วยความเป็นวสี และอาศัยขณิกสมาธิ ยกอารมณ์ขึ้นสู่วิปัสสนาพิจารณากำหนดรู้สภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง 6 มีวิปัสสนาภูมิเป็นอารมณ์ยังวิปัสสนาญาณ 9 ให้ปรากฏ เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริง จิตเข้าถึงตัววิปัสสนา พัฒนาไปตามลำดับญาณ 16 บรรลุมรรค ผล นิพพาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระธรรมธีรราชมุนี (โชดก าณสิทธิ). (2548). วิปัสสนากรรมฐานภาค 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ณาณวโร). (2545). วิมุตติรัตนมาลี เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

พระพุทธโฆสเถระ. (2558). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 10). แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.