วิเคราะห์อุทกุกเขปสีมาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระครูอาทรสุนทรกิจ ทม ทมจิตฺโต
พระมหาปราโมทย์ แก้วนา
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสีมาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาอุทกุกเขปสีมาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุทกุกเขปสีมาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ เรียบเรียง สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สีมา คือ เขตความพร้อมเพรียงของสงฆ์ในการทำสังฆกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญมีการอุปสมบทเป็นต้น มี 2 ประเภทคือ (1) พัทธสีมา หมายถึง แดนที่ผูกเป็นเขตชุมนุมสงฆ์ (2) อพัทธสีมา หมายถึง แดนที่พระสงฆ์มีอำนาจเพียงถือเอาเป็นเขตประชุมสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมเท่านั้น


          อุทกุกเขปสีมา หมายถึง แม่น้ำที่ได้ลักษณะที่ให้กำหนดเป็นเขตสีมามี 3 อย่าง ได้แก่ (1) นทีสีมา คือแม่น้ำ (2) สมุทรสีมา ได้แก่ ทะเล และ (3) ชาตสรสีมา ได้แก่ น้ำที่เกิดขึ้นจากการกักขังเอง


          วิเคราะห์อุทกุกเขปสีมาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท แบ่งเป็น (1) นทีสีมา คือแม่น้ำ ที่ภิกษุสงฆ์กำหนดจะทำแม่น้ำนี้ให้เป็นพัทธสีมาจะทำสังฆกรรมทุกอย่างในแม่น้ำนี้ (2) สมุทรสีมา คือภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในทะเลนั้นทำสังฆกรรมได้ (3) ชาตสรสีมา คือ ชลาลัยที่ไม่มีใครขุดไว้เป็นบึงที่เกิดเอง มีน้ำขัง สามารถทำสังฆกรรมได้ ซึ่งการจะทำสังฆกรรมแต่ละสีมานั้น พระพุทธเจ้าทรงมีข้ออนุญาต และข้อห้ามไว้ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระสารพุทธิ. (2501). คัมภีร์สีมาวิโสธนีปกรณ์ ฉบับฉัฏฐสังคายนา ประเทศสหภาพพม่า. ย่างกุ้ง: โรงพิมพ์กิจการพระศาสนา ประเทศสหภาพพม่า.

พระสุริยา ไชยประเสริฐ และ ภาสกร เรืองรอง. (2566). การพัฒนารูปแบบสื่อจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาด้วยการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1067-1077.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ คุ้มครอง. (2555). ศึกษาพัฒนาการและความสำคัญของสีมาในพระพุทธศาสนาเถรวาท: กรณีศึกษาในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). วินัยมุข เล่ม 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.