การเจริญเมตตาเจโตวิมุตติยกขึ้นสู่วิปัสสนาแบบสมถยานิกที่ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี

Main Article Content

จันทร์จิรา ชินศรี
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ 2) เพื่อศึกษาการเจริญเมตตาเจโตวิมุตติยกขึ้นสู่วิปัสสนาแบบสมถยานิก และ 3) เพื่อศึกษาการเจริญเมตตาเจโตวิมุตติยกขึ้นสู่วิปัสสนาแบบสมถยานิกที่สำนักปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า



1. เมตตาเจโตวิมุตติ คือ เมตตาที่แผ่ไปในสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ มีกำลังสมาธิขั้นฌานจิต เป็นบาทฐานยกขึ้นสู่วิปัสสนา จึงเป็นความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยกำลังสมาธิและหลุดพ้นจากกิเลสด้วยปัญญา การแผ่มี 4 วิธี คือ แบบโอธิโสผรณา อโนธิโสผรณา ทิสาผรณา อินทริยวาร สามารถพัฒนากำลังสมาธิถึง 9 ระดับ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ


2. การเจริญเมตตาเจโตวิมุตติยกขึ้นสู่วิปัสสนาแบบสมถยานิก คือ ผู้เจริญเมตตาเจโตวิมุตติเข้าฌาน ออกจากฌานแล้วยกองค์ฌานที่ปรากฏชัดหรือนำสภาพธรรมที่ประกอบกับฌานหรือจิตเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนาหมวดเวทนา จิต ธรรม เห็นสภาพธรรมที่เป็นอารมณ์ดับไปและเห็นจิตนั้นดับไปด้วย


3. การเจริญเมตตาเจโตวิมุตติยกขึ้นสู่วิปัสสนาแบบสมถยานิกที่สำนักปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี คือ การแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ใน 31 ภูมิ แผ่อโนทิศบุคคล 5 บท 10 ทิศ ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติและเมตตาอินทรีย์ จนจิตตั้งมั่นเป็นฌานจิต ออกจากฌานนั้นตามรู้เวทนา จิต หรือสภาพธรรมที่ปรากฏชัดในขณะจิตปัจจุบัน เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดวิปัสสนาญาณ บรรลุ มรรค ผล นิพพาน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี). (2564). ลำดับการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แนวธัมมานุสารี. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี). (2565). คู่มือผู้ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.

พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร. (2556). พระอภิธรรม เจตสิกปรมัตถ์. กรุงเทพฯ: เอบุ๊คดิสทริบิวชั่น จำกัด.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2555), พรหมวิหาร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์ (สมลักษณ์ คนฺธสาโร).กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ). (2554). อริยวังสปฏิปทา ปฏิปทาอันเป็นวงศ์พระอริยเจ้า.กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.