ศึกษาแนวทางจัดการอารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

พระชูชาติ ปัญญาแก้ว
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาอารมณ์ 6 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวทางจัดการอารมณ์ 6 ในวิปัสสนาภาวนา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร นำมาเรียบเรียง นำเสนอบรรยายเชิงพรรณนา จากการวิจัยพบว่า อารมณ์ เป็นสิ่งที่จิตเข้าไปถือเอา หน่วงเหนี่ยวจิตไว้มีอิทธิพลต่อจิต อารมณ์มีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่ 1) รูปารมณ์ 2) สัททารมณ์ 3) คันธารมณ์ 4) รสารมณ์ 5) โผฎฐัพพารมณ์ 6) ธรรมารมณ์ อายตนะภายนอกที่เชื่อมต่อกับอายตนะภายใน ทําให้เกิดกระบวนการรับรู้ แล้วเกิดเป็นเวทนา สุขทุกข์ เฉย จิตที่ไม่รู้หลงเพลิดเพลินไปในอารมณ์อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารักเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ มีอยู่ในอารมณ์ทั้ง 6 นี้เองเป็นเหตุแห่งทุกข์ การจัดการอารมณ์ 6 ในวิปัสสนาภาวนา โดยมีสติสัมปชัญญะกำหนดตามรู้ ในขณะอารมณ์ที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อมีสติสัมปชัญญะมากพอ ก็ย่อมรู้ชัดในอารมณ์ โดยความเป็นไตรลักษณ์ มีอาการเปลี่ยนแปลง ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนบังคับบัญชาตามใจปรารถนาไม่ได้เมื่อเห็นชัดอย่างนี้จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด คลายความยึดมั่นถือมั่น การกําหนดตามรู้ก็เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดในอารมณ์ ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เพราะฉะนั้นการปฏิบัติต่ออารมณ์อย่างถูกวิธีก็ย่อมนำสุขมาให้ แต่ถ้าปฏิบัติต่ออารมณ์อย่างผิดวิธีก็ย่อมก่อทุกข์ตามมาเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พรรณพิมล หล่อตระกูล. (2543). E.Q. กับงานสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 35) กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2557). ธัมมจักกัปปวัตนสูตร. แปลโดย พระคันธสารภิวงศ์. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์น.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (2553). คัมภีร์อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.