วิเคราะห์การปฎิบัติวิปัสสนาภาวนาในสามัญญผลสูตร

Main Article Content

พรลักษณ์ แม้นบุตร
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในสามัญญผลสูตร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสามัญญผลสูตร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง แก้ไข เรียบเรียง สรุปผลการวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักธรรมต่างๆที่พระภิกษุได้นำมาปฏิบัติที่ปรากฏในสามัญญผลสูตร ได้แก่ อินทรีย์สังวร การมีสติสัมปชัญญะ การอยู่อย่างสันโดษ การละนิวรณ์ 5 ทำให้นักบวชในพระพุทธศาสนามีความประพฤติสงบเรียบร้อย น่าศรัทธา น่าเลื่อมใส มีวัตรปฏิบัติควรแก่การนับถือ  2) วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสามัญญผลสูตร พบว่าอินทรีย์สังวร คือ การสำรวมระวังอินทรีย์ 6 หรือสำรวมอายตนะ คือสิ่งที่เชื่อมต่อกันก่อให้เกิดความรู้สึกมี 2 ประเภทคือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก อายตนะภายในหมายถึงสิ่งที่เชื่อมต่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติภายในตัวคนเรามี 6 ประเภท คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกหรืออารมณ์ หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่ภายนอกตัวคนมี 6 ประเภท คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ การเจริญวิปัสสนาต้องกำหนดรูป-นามเป็นอารมณ์ ถ้ากำหนดได้จนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นอาการของรูป–นามตามความเป็นจริง จึงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุดจนสามารถเข้าถึงซึ่งมรรคผล นิพพาน         

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระภัททันตะ อาสภมหาเถระ. (2513). วิปัสสนาทีปนีฎีกา. ชลบุรี: วัดภัททันตะอาสภาราม.

พระราชวรมุนี และคณะ. (2538). วิมุตติมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยตะ ชัยวรมันกุล, พระครูโสภณวีรานุวัตร, สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และ ธนัชพร เกตุคง. (2566). พุทธนวัตกรรมภาวนา 4 เพื่อเพิ่มพลังของผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 611-625.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.