วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกายสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมในกายสูตร ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกายสูตร การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ปกรณ์วิเสสและคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงบรรยาย และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กายสูตร เป็นพระสูตร ว่าด้วยกายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ มีหลักธรรมสำคัญกล่าวคือ นิวรณ์ 5 คือ กามฉันทะนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์
ถีนมิทธะนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจะนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อันเป็นอกุศลที่เกิดขึ้นกับจิต 2) การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกายสูตร พบว่า การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกายสูตร พบว่า เป็นการอบรมสติเพื่อก่อให้เกิดปัญญา เพื่อเข้าไปรู้แจ้งความเป็นจริงของนิวรณ์ 5 อันเป็นสภาพธรรมไม่ให้บรรลุความดี เครื่องขวางกั้นในการบรรลุธรรม และการละนิวรณ์ 5 โดยการโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุก่อให้เกิดสติและพัฒนาปัญญาในโพชฌงค์ 7 ให้มีความสมดุล ในการปฏิบัติ วิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 เพื่อพัฒนาสติปัญญาญาณเห็นแจ้งประจักษ์จิตถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตน เข้าไปรู้แจ้งของรูปนาม อันจะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม คือ พระอริยบุคคล ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสียาดอ). (2562). วิปัสสนาชุนี. แปลโดย จำรูญ ธรรมดา. กรุงเทพฯ: อินเตอร์ ดีไซน์ แอนด์ พริ้นติ้ง.
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 49). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.