การเจริญวิปัสสนาภาวนาในอัชฌัตตทุกขสูตร

Main Article Content

พระไพรรบ ลาศศรีลา
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและสาระสำคัญในอัชฌัตตทุกขสูตร 2) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในอัชฌัตตทุกขสูตร เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนาในอัชฌัตตทุกขสูตรแบ่งเป็น 1) พิจารณาอายตนะภายในที่ 1 คือจักษุและรูปว่าเป็นทุกข์ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ไม่เที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งไหนเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา 2) อายตนะภายในที่ 2 คือ โสตะคือหูคู่กับเสียง เป็นทุกข์ พิจารณาเช่นเดียวกัน 3) ฆานะ คือ จมูกคู่กับกลิ่นเป็นทุกข์ฯ 4) ชิวหา คือ ลิ้นคู่กับรส เป็นทุกข์ฯ 5) อายตนะที่ 5 กาย คือ กายคู่กับสัมผัสเป็นทุกข์ฯ 6) อายตนะที่ 6 มโนคือ ใจคู่กับธรรมารมณ์โดยการพิจารณาว่า มโน ไม่เที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งไหนเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัสตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา ปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนาจะนำไปสู่การเจริญขึ้นของอริยมรรคซึ่งนำไปสู่การรู้แจ้งพระนิพพานในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระครูเกษมธรรมธัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี). (2558). วิปัสสนาภูมิ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

พระทัศพร ทองอยู่. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในทุกขสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 528-537.

พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). รุงอรุณของการศึกษา เบิกฟาแหงการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพสวย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย. (2564). การบริหารการศึกษาตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 83-92.

พระมหากิตติณัฏฐ์ สุกิตฺติเมธี. (2564). การวิเคราะห์แนวทางงดเว้นจากความเสื่อมในปราภวสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 84-95.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

พระโสภณะเถระ (มหาสีสยาดอ). (2554). วิปัสสนานัย เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: ไพลินบู๊คส์.

พุทธทาสภิกขุ. (2548). ตามรอยพระอรหันต. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาตามหลักสัปปายะ 7 วิถีใหม่. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 75-82.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.