รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

Main Article Content

นิตยา มีบุญ
สุชาติ ปรักทยานนท์
บุรพร กำบุญ
ศิรชญาน์ การะเวก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจที่ขึ้นทะเบียนการค้า โดยจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลเป็นธุรกิจ SMEs  จำนวน 380 ราย และเชิงคุณภาพใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 12 ท่าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยโปรแกรมลิสเรล


ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ด้านการประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทาน ความร่วมมือในโซ่อุปทาน ความพึงพอใจของพนักงาน และประสิทธิภาพการดำเนินงาน (2) ด้านการประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทาน ความร่วมมือในโซ่อุปทาน ความพึงพอใจของพนักงาน และประสิทธิภาพการดำเนินงานมีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดล ผลการวิเคราะห์มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Model Fit) และ (3) รูปแบบผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเมื่อพิจารณาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของการปรับโมเดล      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0. กรุงเทพฯ: กระทรวง อุตสาหกรรม.

ชลิดา ลิ้นจี่, สุภาพร รัตนวิสุทธิ์, นฤมล สุทธิธรรม และ สนาศิริ แสงสุข. (2566). ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 851-864.

ชิงฮุ่ย ไช, ศิรชญาน์ การะเวก, บุรพร กำบุญ และ สุชาติ ปรักทยานนท์. (2566). รูปแบบของปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 520-539.

ดวงใจ คงคาหลวง, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ วัลลภา วิชะยะวงศ์. (2566). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 308-326.

ธานินทร์ ศิลป์ จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ปรีชา สุดใจ และ ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริการและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการในจังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 73-84.

มนสิชา อนุกูล. (2557). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการใช้พานิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 21(1), 48-60.

ศราวุธ คำจ๋า. (2563). ตัวแบบความตั้งใจใช้เอ็มคอมเมิร์ซแบบธุรกิจกับธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 1-13.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2564). ภาพรวมและสถานะของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ไทย. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6557

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). แผนการส่งเสริมสำนักงานวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/upload/mod_ download/แผนแม่บทฯ%20ฉบับที่%204.pdf

Chanvarasuth, P. (2010). Adoption of E-business by Thai SMEs. International Journal of social, Behavior, Education, Economic, Business and Industrial Engineering, 4(5), 523-528.

Creswell, J. W. (2005). Educational Research: Planning, Conducting, and Valuating Quantitative and Qualitative Research. (2nd ed.). New Jersey: Pearson Education.

Creswell, J. W., & Plano, C, V. L. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks: Sage.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B., Anderson, R. E., & Tathem, R. L. (2010). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Ilin, V., Ivetić, J., & Simić, D. (2017). Understanding The Determinants of E-Business Adoption in ERP-Enabled Firms and Non-ERP-Enabled Firms: A Case Study of the Western Balkan Peninsula. Technological Forecasting and Social Change, 125, 206-223.

Ke, W., & Yu, S.-C. (2023). Abusive Supervision and Employee Creativity: The Mediating Effect of Role Identification and Organizational Support. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 39–52.

Kline, R. B. (1998). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford.

Schumacher, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling: SEM. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Tan, C. C., Damnoen, P. S., Toprayoon, Y., Dabjan, N., Damkam, K. (2022). An Exploratory Study of The Spirituality-Oriented Experiences of Tourists. In Srivastava, P., Thakur, S. S., Oros, G. I., AlJarrah, A. A., Laohakosol, V. (Eds). Mathematical, Computational Intelligence and Engineering Approaches for Tourism, Agriculture and Healthcare. Lecture Notes in Networks and Systems, 214, 307-314.

Tornatzky, L. G., Fleischer, M., & Chakrabarti, A. K. (1990). Processes of Technological Innovation. New Jersey: Lexington.

Wu, H. C., Wong, J. W., & Cheng, C. C. (2014). An Empirical Study of Behavioral Intentions in The Food Festival: The Case of Macau. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 19(11), 1278–1305.

Zhao, A., & Phakdeephirot, N. (2023). Research on Influencing Factors of Employee Safety Behavior - Data from Construction Enterprises in Hebei Province, China. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 79–104.

Zhu, K., & Kraemer, K. L. (2005). Post-Adoption Variations in Usage and Value of E-Business by Organizations: Cross-Country Evidence from the Retail Industry. Information Systems Research. 16(1), 61-84.