วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกิงสุโกปมสูตร

Main Article Content

พระมหาภาณุวัฒน์ แขวงโสภา
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในกิงสุโกปมสูตร 2) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกิงสุโกปมสูตร การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ปกรณวิเสส และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์เรียบเรียง สรุปผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) เนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในกิงสุโกปมสูตร กล่าวถึงภิกษุ 4 รูปผู้เป็นพระขีณาสพ ได้แสดงถึงวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยนำเอาหลักธรรมสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ผัสสายตนะ 6 2. อุปาทานขันธ์ 5 3. มหาภูตรูป 4 และ 4. ความเกิดดับของธรรมทั้งปวง ซึ่งเมื่อปฏิบัติตามหลักธรรมที่สำคัญนี้แล้ว จะสามารถเข้าถึงความเป็นผู้มีทัศนะหมดจดดี 2) วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกิงสุโกปมสูตร พบว่า การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกิงสุโกปมสูตร เน้นการนำหลักสติปัฏฐาน 4 มาปฏิบัติ ด้วยการเจริญสติเพ่งพินิจพิจารณาสภาพธรรม อันเป็นไปในกาย เวทนา จิต และธรรม โดยรู้ชัดถึงความเกิดและความดับของ ผัสสายตนะ 6 อุปาทานขันธ์ 5 มหาภูตรูป 4 ตามความเป็นจริง เกิดปัญญาญาณเห็นแจ้งความเกิดดับของรูปนาม อย่างต่อเนื่อง จนจิตหยั่งถึงธรรมชาติของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งปวง เมื่ออินทรีย์แก่กล้าสมดุลได้ที่ วิปัสสนาญาณเจริญขึ้นจนมรรคญาณ ผลญาณ ปรากฏ จึงได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 51). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.