การเจริญวิปัสสนาในผัสสมูลกสูตร

Main Article Content

พระสมบัติ ทั่งสุวรรณ
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมในผัสสมูลกสูตร 2) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาในผัสสมูลกสูตร การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์เรียบเรียง และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ผัสสมูลกสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยเวทนา 3 ประการ คือ (1) สุขเวทนา (2) ทุกขเวทนา (3) อทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา หมายถึง การเสวยอารมณ์ เมื่อจําแนกประเภทโดยลักษณะแห่งการเสวยอารมณ์ สุข ทุกข อุเบกขา และ ผัสสะ หมายถึง สัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึกภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และความรู้สึกภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ และวิญญาณ 2) การเจริญวิปัสสนาในผัสสมูลกสูตร คือ การกำหนดรู้ผัสสะที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 โดยการกำหนดรู้ตามหลักเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่  (1) การกำหนดรู้สุขเวทนา คือ การกำหนดความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ได้แก่ ความโล่ง เบาสบาย หรือความรู้สึกเป็นสุขทางใจ (2) การกำหนดรู้ทุกขเวทนา คือ การกำหนดรู้ ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ทางกาย เช่น ความเจ็บ ปวด ร้อน เย็น เหนื่อย หรือความทุกข์ทางใจ และ (3) การกำหนดรู้อทุกขมสุขเวทนา คือ   การกำหนดความรู้สึกแบบเป็นกลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือ ความเฉยแห่งใจ ตามความเป็นจริง และอานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาภาวนาในผัสสมูลกสูตร คือ สามารถนำไปสู่การขจัดอนุสัยกิเลส อาสวะ บรรลุมรรค ผล นิพพาน ได้ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.

พระทัศพร ทองอยู่. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในทุกขสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 528-537.

พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย. (2564). การบริหารการศึกษาตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 83-92.

พระมหากิตติณัฏฐ์ สุกิตฺติเมธี. (2564). การวิเคราะห์แนวทางงดเว้นจากความเสื่อมในปราภวสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 84-95.

พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร. (2556). พระอภิธรรม เจตสิกปรมัตถ์. กรุงเทพฯ: เอบุ๊ค ดิสทริบิวชั่น.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2553). มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. ตรวจชำระ เรียบเรียงแปลโดย พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระอำพัน นิลใน, ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาตามหลักสัปปายะ 7 วิถีใหม่. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 75-82.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.

Damnoen, P. S., Chaiworamankul, Y., Thammawatsiri, P. A., & Soontrondhammanitus, P. (2021). Buddhist Ethics and the way of Living in Daily Life: An Analysis of Genital Malfeasances (Kamesumicchacara). Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(8), 2943-2948.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.