การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกุณฑลิยสูตร

Main Article Content

ปราณี เลิศโกวิทย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมในกุณฑลิยสูตร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาวนาในกุณฑลิยสูตร การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง แก้ไข เรียบเรียงด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกุณฑลิยสูตร แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือส่วนที่ 1 อินทริยสังวรในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ด้วยการสำรวมอายตนะทั้ง 6 เพื่อไม่ให้ตัณหาไหลเข้าสู่ใจ ส่วนที่ 2 สุจริต 3 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ทางกายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 เพื่อเป็นฐานรองรับในการปฏิบัติในขั้นต่อไป ส่วนที่ 3 สติปัฏฐาน 4 ด้วยการเจริญสติมีอารมณ์ 4 ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นการเกิดและความเสื่อม เป็นไตรลักษณ์ รู้เหตุเกิดเหตุดับกำหนดจดจ่อต่อเนื่องไม่ขาดสาย ส่วนที่ 4 โพชฌงค์ 7 ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์, วิริยสัมโพชฌงค์, ปีติสัมโพชฌงค์, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์, สมาธิสัมโพชฌงค์, และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การพัฒนาอินทรีย์ทั้ง 5 ในโพชฌงค์ จนเกิดความเป็นกลางเป็นตัตตรมัชฌัตตตาอุเบกขา จิตไม่อาลัยในสังขาร ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์ เข้าถึงวิชชาและวิมุตติ เป็นพระอริยบุคคลมี พระโสดาบัน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญมี เมธางกูร และ บุษกร เมธางกูร. (2545). พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปัจจัยสังคหวิภาค. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสียาดอ). (2562). วิปัสสนาชุนี. แปลโดย จำรูญ ธรรมดา. กรุงเทพฯ: อินเตอร์ ดีไซน์ แอนด์ พริ้นติ้ง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 49). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.