การพัฒนาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบชัดเจนร่วมกับสะท้อนคิด

Main Article Content

เกื้อกูล นามวงษ์
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบชัดเจนร่วมกับสะท้อนคิด รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบชัดเจนร่วมกับสะท้อนคิด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตั้งคำถาม 2) ขั้นสำรวจตรวจสอบ 3) ขั้นอภิปราย และ 4) ขั้นสะท้อนคิด กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3 ชนิด ได้แก่ แบบสำรวจความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ อนุทินสะท้อนคิด และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า นักเรียนมีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์เข้าใจถูกต้องชัดเจน ร้อยละ 82.92 และร้อยละ 13.33 นักเรียนเข้าใจบางส่วน แต่ยังมีนักเรียนร้อยละ 3.75 ที่ยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ พบว่านักเรียนมีเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยนักเรียนสามารถเชื่อมโยงประเด็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งประเด็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนมีความเข้าใจถูกต้องชัดเจนมากที่สุด คือ องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับประเด็นธรรมของวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ และตระหนักถึงคุณค่าวิทยาศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา มหาลี และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2553). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 16(5), 795-809.

กมลรัตน์ ฉิมพาลี, ประสาท เนืองเฉลิม และลือชา ลดาชาติ. (2560). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(1), 85-100.

ประดับชัย อินมณี. (2556). การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธิการสอนแบบชัดเจนร่วมกับการสะท้อนคิดโดยใช้ประวัติของวิทยาศาสตร์ ในวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและการมองเห็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลลิตา คำแก้ว, ชาตรี ฝ่ายคำตา และ พจนารถ สุวรรณรุจิ. (2560). การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการสอนแบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนความคิด ผนวกในเนื้อหาเรื่องปฏิกิริยาเคมีและปิโตรเลียม. วารสารวิจัย มข., 3 (2), 25-39.

ลือชา ลดาชาติ, ลฎาภา สุทธกูล และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2556). ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการส่งเสริมการเรียนการสอน “ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์” ภายนอกและภายในประเทศไทย. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์), 34(2), 269-282.

สุทธิดา จำรัส และ นฤมล ยุตาคม. (2551). ความเข้าใจและการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในเรื่องโครงสร้างอะตอมของครูผู้สอนวิชาเคมี. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์), 29(3), 228-239.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และตัวชี้วัดการเรียนรู้ (ตอนที่ 2). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 137–142.

Abd-El-Khalick, F. & Lederman, N. G. (2000). Improving Science Teachers’ Conceptions of Nature of Science: A Critical Review of the Literature. International Journal of Science Education. 22(7), 665-701.

Akerson, L.V., Abd-El-Khalick, F., & Lederman, N. G. (2000). Influence of a Reflective Explicit Activity-Based Approach on Elementary Teachers’ Conceptions of Nature of Science. Journal of Research in Science Teaching, 37(4), 295-317.

American Association for the Advancement of Science. (1990). Science for All Americans. New York: Oxford University Press.

Khishfe, R., & Abd-El-Khalick, F. (2002). Influence of Explicit and Reflective Versus Implicit Inquiry-Oriented Instruction on Sixth Graders’ Views of Nature of Science. Journal of Research in Science Teaching, 39(7), 551-578-496.

Lederman, N. G. (2002). Views of Nature of Science Questionnaire: Toward Valid and Meaningful Assessment of Learners’ Conception of Nature of Science. Journal of Research in Science Teaching, 39(6), 497-518.

Lederman, N. G. (1992). Students’ and Teachers’ Conceptions of the Nature of Science: A Review of the Research. Journal of Research in Science Teaching, 29(4), 331-359.

McCOMAS, W. F. (1998). The Nature of Science in Science Education Ration and Strategies. California: Kluwer Academic.

National Research Council. (1996). National Science Education Standards. Washington, D.C.: National Academy Press.