การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงชุมชนเขาพูลทอง ม.11 ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี

Main Article Content

ชลดา ผลศิริ
ปราณี นามประดิษฐ์
ชัชวาล โภโค
ประภัสสร เจริญนาม
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต

บทคัดย่อ

บทความนีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเขาพูลทอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงก่อนและหลังการอบรม 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงก่อนและหลังการอบรม 4) เพื่อเปรียบเทียบผลระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงก่อนและหลังการใช้รูปแบบ การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผล ก่อน-หลัง สิ่งที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการดำเนินที่พัฒนาขึ้นทำการทดลองกับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired Samples t-Test


 ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงชุมชนเขาพูลทอง มีขั้นตอนดำเนินการตั้งแต่การคัดกรอง โดยการตรวจน้ำตาลในเลือดโดยวิธีเจาะจากปลายนิ้ว และมีการอบรมให้ความรู้ โดยการจัดอบรม แจกเอกสาร แผ่นพับ สื่อการสอนและนำเสนอตัวอย่างบุคคลต้นแบบ โดยใช้แนวทางการเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ อีกทั้งมีการเสริมพลังโดยการการให้รางวัล นอกจากนี้ยังมีการบริการเชิงรุกโดยการติดตามเยี่ยมบ้านและสภาพแวดล้อมเพื่อปรับปรุงการส่งเสริมสุขภาพรวมถึงการเฝ้าติดตามสังเกตพฤติกรรม โดยการใช้ Application Line group หลังการใช้รูปแบบส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ มีพฤติกรรมดีขึ้นและผลของระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ บริสุทธิ์ และคณะ. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 26-37.

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก, ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, สืบค้นจากhttps://pr.moph.go.th/url =pr/detail/2/02/181256/.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. สืบค้น 4 เมษายน 2565. จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.

ขนิษฐา พิศฉลาด และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 132-146.

จินต์ทิพา ศิริกุลวิวัฒน์ และรุ้งระวี นาวีเจริญ. (2562). ผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(2), 10-22.

ดวงหทัย แสงสว่าง และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 103-117.

วัฒนา สว่างศรี และ ศิราณีย์ อินธรหนองไผ. (2556). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 116-122.

สมใจ จางวาง และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: ร่มเย็น มีเดีย.

สุขสันต์ อินทรวิเชียร. (2555). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 19(2), 65-74.