ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านคุณค่าในตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่การวิจัย คือ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ซื้อหรือเคยซื้ออาหารแช่แข็ง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ได้ถึงร้อยละ 26.90% มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลเชิงลบ และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภค 2) ปัจจัยทางคุณค่าในตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ได้ถึงร้อยละ 33.20% มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ชื่อตราสินค้า ด้านการรับรู้คุณภาพ และด้านความภักดีต่อตราสินค้า ทั้ง 3 ด้านมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
ผู้บริโภครับรู้ว่า อาหารแช่แข็งมีรสชาติที่อร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย และมีคุณค่าของอาหารทางอาหาร ที่สำคัญ คือ คุณค่าในตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็ง ผู้บริโภคมีความรู้สึกที่ไม่เสียดายเงินเมื่อตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกฎ จำเนียร, เมธาวี จำเนียร, ทองพูล มุขรักษ์ และ ปรีชาพร เกตุแก้ว. (2566). ภูมิปัญญา ความเชื่อ เรื่องเล่าปลาดุกร้า ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวดสู่การสื่อสารการตลาดสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 272-288.
กุลวดี คูหะโรจนานนท์. (2563). หลักการตลาด. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉวีวงศ์ บวรกีรติขจร. (2560). การศึกษาการซื้อขายกลุ่มแฟชั่นในสื่อสังคมออนไลน์. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับ ภาษาไทย, 10(2), 2056-2071.
ทิบดี ทัฬหกรณ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟทรู ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 6(3). 169-180.
ธนาคารกรุงเทพ. (2563). เมื่อผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมและปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565. จาก : https://events.bangkokbanksme.com/en/consumersinnovative-safe-food
ปรีชา สุดใจ และ ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริการและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการในจังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 73-84
ศศิกานต์ แป้นประสิทธิ์ จิณห์จุฑา จรัสอภิรัตกุล เดชกรณ์ โกศลสุรเสนีย์ สุขานาถ ภู่วพงษ์ศิริ ทัชชกร สัมมะสุต. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภคร้าน มองช้างคาเฟ่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(2). 324-338.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2559). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ไดมอน อิน บิสสิเน็ตเวิร์ล.
สถาบันอาหารของกระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). แนวโน้มอุตสาหกรรม อาหารพร้อมปรุง-พร้อมทานในตลาดโลกกับอนาคตที่สดใส. [สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565 จาก, http://library.dip.go.th/multim1 /ebook/.
สนธยา คงฤทธิ์. (2544). การบริหารการตลาด. นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
สมชาย หาญหิรัญ. (2557). การเมืองยืดเยื้อส่อฉุด GDP อุตฯ ปี 2557 วูบ 5 หมื่นล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565 จาก, http://www.manager.co.th/iBizchannel/
สิริรัตน์ สิริวงศ์นาม และ สุมาลี รามนัฎ. (2562). ปัจจัยด้านองค์กรและคุณค่าตราสินค้าในฐานะปัจจัยเชื่อมโยงการสื่อสาร การตลาดเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็ง ของผู้บริโภคในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 37(3), 71-81.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
เสรี วงษ์มณฑา. (2560). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
อุบล ชื่นสำราญ และ ธีรเวท กิจการุณ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหารแช่แข็งประเภทอาหารสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(3), 211-214.
Aaker, D. (1991). Managing Brand Equity. New York: The Free.
Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Ropo, J.P. (2009). Brand Management and Branding: Creating a Brand Strategy for ADcode. (Master’s Thesis). Tampereen Ammattikorkeakoulu University of Applied Sciences, Finland.