การบริหารงานดูแลหอพักนอนของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ประธาน ขันทะยศ
สิทธิชัย มูลเขียน
ธีระภัทร ประสมสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานดูแลหอพักนอนของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานดูแลหอพักนอนของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวมจำนวน 144 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 140 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ปีการศึกษา 2565  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงความเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และจัดลำดับความสำคัญเพื่อรวบรวมเป็นแนวทางในการพัฒนา


ผลการศึกษา พบว่า การบริหารงานดูแลหอพักนอนของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ กิจวัตรประจำวันของนักเรียนประจำ การจัดหอนอนนักเรียน งานกิจการนักเรียน งานโภชนาการ งานอนามัยโรงเรียน งานอาคารสถานที่ แนวทางการพัฒนาควรกำหนดโครงสร้างเวลากิจกรรมทักษะการดำรงชีวิตตามระดับชั้น ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดนักเรียนเข้าหอนอนอย่างชัดเจนและเป็นระบบ มีพี่เลี้ยงดูแลร่วมกับครูหอนอน ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขอนามัยนักเรียน ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกประเมินความสะอาด ทั้งสถานที่ล้างภาชนะ ที่เก็บภาชนะ และการกำจัดเศษอาหารอย่างถูกวิธี และมีระบบอินเตอร์เน็ตให้พร้อมใช้งานในโรงเรียน บูรณาการทักษะการดำรงชีวิตกับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). โครงการจัดการศึกษาส้วมสุขสันต์ในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปี 2554. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยาณี รัตนบุตรและคณะ. (2566). รูปแบบการบริหารระบบคุณภาพงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 490-492.

จุฑาทิพย์ คาเดช. (2561). แนวปฏิบัติงานหอพักนักเรียนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสองแคววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 3139-3140.

รัตนพร สุขะวรรณะ. (2563). ความพึงพอใจต่อมาตรการและการบริหารจัดการหอพักภายในมหาวิทยาลัยในช่วงสถานการณ์โควิด-19. (วิทยานิพนธ์คึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย. เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ณฐพร หลากสุขถม. (2560). แนวทางการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในจังหวัดอ่างทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2552. กันยายน 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. (2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2554). บทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัด.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2564). ด้านการรักษาความปลอดภัย และป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก http://www.onesqa.or.th/upload/download/201704271505239.pdf.

อรนุช มั่งมีสุขศิริ. (2562). การวิจัยและพัฒนาแนวทางการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการเรียนรู้ของกรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Piaget, J. (2008). Intellectual Evolution for Adolescence to Adulthood. Human Development, 51 (1), 40–47.