ทักษะการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพระเจ้าพรหมมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

Main Article Content

ศิลาพร สวัสดิ์คำ
ธีระภัทร ประสมสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพระเจ้าพรหมมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพระเจ้าพรหมมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจ ใช้แนวคิด ทฤษฎี 3 ทักษะ ของ Katz เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพระเจ้าพรหมมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 109 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสรุปเป็นเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพระเจ้าพรหมมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพระเจ้าพรหมมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 คือ ผู้บริหารควรคิดค้นระบบงานและเทคนิคบริหารเพื่อใช้ในปฏิบัติงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ องค์ความรู้และข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถใช้ทักษะการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ตลอดจนการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). เส้นทางสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาไทย : แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิราภา เพียรเจริญ. (2555). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชยพล ดีอุ่น. (2563). การบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ของสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาลุ่มน้ำลาง อำเภอปางมะผ้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

ธนพล หอมนาน. (2565). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา รับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

แพรดาว สนองผัน และ เสาวนี สิริสุขศิลป์. (2557). ทักษะของผู้บริหารและเสนอแนวการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(4), 42-50.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2556). ทักษะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(2), 200-207.