การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านปงแม่ลอบสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1

Main Article Content

ชลดา ยาวิละ
สุรศักดิ์ สุทธสิริ
ทัศนีย์ บุญมาภิ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านปงแม่ลอบ และ2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านปงแม่ลอบสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 1 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิด (หรือทฤษฎี) Taba 7 ขั้นตอน เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย โรงเรียนบ้านปงแม่ลอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 และครูผู้สอน จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปประมวลผลในการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า


1. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านปงแม่ลอบสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 1 โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน


2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านปงแม่ลอบ คือ ด้านการสำรวจความต้องการ จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา สำรวจความต้องการ จัดตั้งคณะทำงานและพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอนหรือคณะทำงานในวางแผน ด้านการเลือกเนื้อหาสาระ วางแผนจัดประชุม ดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหลักสูตร ด้านการจัดเนื้อหาสาระ จัดประชุมครูเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการเลือกประสบการณ์เรียนรู้ จัดให้ครูได้เข้าสอนตามความรู้ความสามารถ สอนตรงตามสาขาวิชา ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินจัดแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ด้านการประเมินผลและวิธีการประเมินผล ให้ครูผู้สอนและนักเรียนได้มีการประเมินและนักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และจัดตั้งคณะกรรมการประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมพล เจริญรักษ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถะศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารครุทรรสน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(1), 15-28.

ชรัญญา ไชยวรรณ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเรื่องความรู้เกี่ยวกับอาเซียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1),27-43.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2555). ผู้เรียนเป็นสำคัญ: สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สิรพงศ์ พงศ์เชื้อทอง และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2566). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 13-24.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

อวัศยา แสงทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์)

(สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M.., & Srichan, P. W. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.