การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาตามแนวพุทธของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

ณัฐนันท์ หอมชื่น
สมศักดิ์ บุญปู่
พีรวัฒน์ ชัยสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบการวิจัยเป็นระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) สอบถาม 2) สัมภาษณ์ 3) การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา


1. สภาพศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก คือ ด้านบุคลากร ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกตามลำดับ


2. พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 1) โครงสร้างตามกรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  2) การตัดสินใจตามแนวทางการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสถานศึกษาควรส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกฝังเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) แนวทางการประเมินในการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา 5 ข้อ


 3. องค์ประกอบ 4 ส่วน คือ 1) ส่วนนำ 2) ตัวแบบ 3) ขั้นตอนการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จด้วยรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธสู่การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการพัฒนาและประเมินสถานศึกษา พอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (8 มกราคม 2565). แผนการศึกษาแห่งชาติ (2560 -2579). สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565. จาก: http://www.thaischool.in.th.

ขวัญจิรา จำปา, สุวดี อุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และ พูนชัย ยาวิราช. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพของชุมชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 430-447

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.

ธีรกรณ์ พรเสนา. (2563). กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(2), 11-19.

บุญชม ศรีสะอาด. (2534). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2554). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) และคณะ. (2564). รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมพอเพียงวิถีพุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 17(1), 1-12.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2565). หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565. จากhttps://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html

วินิจ ผาเจริญ. (2564). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยวัยเรียนกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ในยุคไวรัสโควิด-19. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 1-14.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (22 พ.ค. 2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. จาก: https://plan.ptt1.go.thA8-2565. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (4 มกราคม 2565). รายงานผลการประเมินสถานศึกษาพอเพียงเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565. จาก http://www.reo2.moe.go.th/web/images/ download/2562-reo2-Sufficiency

สำนักงานปลัดกระทวงศึกษาธิการ. (4 มกราคม 2565). รายงานผลการประเมินสถานศึกษาพอเพียงเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 เอกสารที่ 20/2562. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565. จาก: http://www.reo2.moe. go.th/web/images/download/2562-reo2-Sufficiency.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (8 มกราคม 2565). แผนการศึกษาแห่งชาติ (2560 -2579). สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565. จาก: http://www.thaischool.in.th/_files_school/63100423/other/ita_ 63100423_1_ 20200914-184141.pdf.

สิรพงศ์ พงศ์เชื้อทอง และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2566). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 13-24.

สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2550). แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นตอนสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิถีสุข.

สุภัทร จำปาทอง. (2565). แนวทางการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565.จาก: https://moe360.blog/ 2021/02/09/sufficiency-economy-education/.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2542). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในวันพัฒนา. กรุงเทพฯ:กรมพัฒนาชุมชน.

สุรเกียรติ เสถียรไทย. (2550). ทฤษฎีใหม่ในหลวง : ชีวิตที่พอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน.

อลิสา อินทร์ประเสริฐ, ประยูร อิ่มสวาสดิ์และสมนึก ทองเอี่ยม. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 3(4), 15-30.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M.., & Srichan, P. W. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.