ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าแฟชั่นบนแอปพลิเคชันชีอินของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

พิชญดา พวงเข็มแดง
สมชาย เล็กเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความภักดีในการซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชันชีอินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชันชีอินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชันชีอิน และพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 369 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านประสบการณ์ตราสินค้า 2) ด้านการรับรู้ตราสินค้า 3) ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า 4 ) ด้านการรับรู้คุณภาพ
แอปพลิเคชัน 5) ด้านการรับรู้คุณค่า และ 6) ด้านความภักดี สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี พิจารณาจากค่า CMIN/df = 1.28, ค่า GFI = 0.92, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.91 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความภักดีในการซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชันชีอิน ได้ร้อยละ 91 พบว่า ด้านการรับรู้คุณภาพแอปพลิเคชัน ด้านประสบการณ์ตราสินค้า ด้านการรับรู้คุณภาพแอปพลิเคชัน ด้านการรับรู้ตราสินค้าและด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า มีอิทธิพลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชัน ตามลำดับ ดังนั้นผู้ประกอบการสามารถนำผลวิจัยไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ทำให้ผู้บริโภคเกิดความภักดีกลับมาซื้อสินค้าแฟชั่นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ หลักคงคา และ วรรณนัฎฐา ขนิษฐบุตร. (2566). การพัฒนากระบวนการคิดสู่แนวคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจด้วยตัวแบบ i-CAB. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 157-167.

กัญญ์วรา ไทยหาญ, พวงเพ็ญ ชูรินทร์ และ สิญาธร นาคพิน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(1), 95-120.

ชิสา นาคเปลื้อง, ธรรญธร ปัญญโสภณ และ ปีเตอร์ กัน. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารผ่านกิจกรรมของศิลปินที่นำเสนอความรับผิดชอบต่อสังคมกับการสร้างภาพลักษณ์องค์กร: กรณีศึกษา บริษัทเซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด วารสารการสื่อสารมวลชนคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 149-167.

ดวงใจ คงคาหลวง, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ วัลลภา วิชะยะวงศ์. (2566). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 308-326.

ประชาชาติธุรกิจ. (28 สิงหาคม 2565) “อีคอมเมิร์ซ” ยุคหลังโควิด Shoppertainment พลิกเกมโต. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/ict/news-1028878

พงศ์ศิริ คำขันแก้ว. (2561). การรับรู้คุณภาพของแบรนด์: แนวคิดและมาตรวัด. วารสารวิชาการ นอร์ทเทิร์น, 5(2), 1-13.

พิชามญชุ์ เลิศวัฒนพรชัย, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ ผ่องใส สินธุสกุล. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 141-156.

พีรวัส ปทุมุต์ตรังษี, จรูญ ชำนาญไพร และ เบญจฐา วัฒนกุล. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่น ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 49-60.

รุ่งนภา บริพนธ์มงคล และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). การรับรู้คุณภาพสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 166-179.

ลลิตา พ่วงมหา. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าร้านหนังสือ. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(3), 77-87.

สิริกร เสือเหลือง และ สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2563). อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงและการรับรู้โฆษณาแฝงผ่านการตระหนักรู้ตราสินค้า ที่สิงผลต่อความตั้งใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้ชมซีรี่ย์ออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(2), 67-80.

สิริมา ชํานาญศิลปะ และ ปภาภรณ์ ไชยหาญชาญชัย. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตังใจซื้อ: กรณีศึกษาตราสินค้าโพเมโล่. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 9(1), 23-43.

สุมามาลย์ ปานคำ และ นาวิญา กาญจนาโรจน์พันธ์. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสอง บนเพจเฟซบุ๊กในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1152-1165.

สุมามาลย์ ปานคำ และนงนภัส ชัยรักษา. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าบนเพจเฟซบุ๊ก TONPRIGSHOP ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 20(1), 25-37.

อรญา มาณวพัฒน์. (2560). ประสบการณ์ความไว้วางใจและความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการในธุรกิจสายการบินของไทย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 4(1), 77-85.

อรณิช ก่ำเกลี้ยง และ อานนท์ คำวรณ์. (2564). คุณภาพการบริการเพื่อพัฒนาความพึงพอใจและการสื่อสารแบบปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาสถาบันระดับอุดมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. Santapol College Academic Journal, 7(2), 137-145.

Allen, I. E. & Seaman, C. A. (2007). Likert Scales and Data Analyses. Statisics Roundtable, 65-66.

Devi, A., & Yasa N. (2021). The Role of Customer Satisfaction in Mediating the Influence of Service Quality and Perceived Value on Brand Loyalty. International Research Journal of Management, IT & Social Sciences, 8(3), 315-328.

Faruk, A. K. (2018). The Role of Store Image, Perceived Quality, Trust and Perceived Value in Predicting Consumers’ Purchase Intentions Towards Organic Private Label Food. Journal of Retailing and Consumer Services, 18(43), 304-310.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall

Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage Publications.

Hoelter, J. W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147.

Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Riteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55.

Hyeon, M. U., & Se, R. U., (2021). The Relationship Between Brand Experience and Consumer-Based Brand Equity in Grocerants. Service Business, 21(15), 369–389.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Kline, R. B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Kusumawati A., & Karisma, R. (2019). The Effect of Experience Quality on Customer Perceived Value and Customer Satisfaction and Its Impact on Customer loyalty. SriTQM Journal, 32(6), 1525-1540.

Marketeer online. (9 กุมภาพันธ์ 2565) แดนสนธยาของ SHEIN แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นสัญชาติจีนที่ครองใจสาวๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566 จาก https://marketeeronline.com/ archives/251103

Renee, B. K., & Yan. C. (2019). Effects of Brand Experience, Brand Image and Brand Trust on Brand Building Process: The Case of Chinese Millennial Generation Consumers. Journal of International Studies, 12(3), 9-21.

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. (3rd ed.). Oxfordshire: Routledge.

Sourou, E. S., & Gyu, B. K. (2018). Influence of Perceived Quality, Price, Risk, and Brand Image on Perceived Value for Smartphone’s Consumers in a Developing Country. East Asian Journal of Business Economics, 6(3), 37-47.

Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. Washington, D. C.: American Psychological Association.

Ullman, M. T. (2001). The Declarative/Procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69.

Zou, Z., & Cheng-Jui, T. (2022). Research on New Media Marketing of Credit Card Business. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(2), 197–226. https://doi.org/10.14456/ijmmt.2022.16