วัฒนธรรมองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และการรับรู้ความสามารถตนเองที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อความสำเร็จขององค์กร

Main Article Content

ผกามาศ เจียกสูงเนิน
ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และการรับรู้ความสามารถตนเองส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดของ Robbins (1994) Huse and Cumming (1985) และ Banddura (1977) เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 จำนวน 300 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ อย่างมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.898 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และการรับรู้ความสามารถตนเองส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
2. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านความสำเร็จของงาน และด้านพฤติกรรมการทำงานส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ร้อยละ 96.7 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
วัฒนธรรมองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และการรับรู้ความสามารถตนเอง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ดังนั้นองค์กรที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการนำตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไปใช้ในการวางแผนการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐธิดา ชูเจริญพิพัฒน์ (2555). วัฒนธรรมในองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ เขตนครสวรรค์(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของ สำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นาวี อุดร (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิธิทัศน์ แจ่มไพบูลย์ (2560). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

พีรญา ชื่นวงศ์ (2561). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย(วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

รัมย์ประภา บุญทะระ (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

วันนิวัต เต็งสุวรรณ (2561). การรับรู้ความสามารถในตนเอง การเสริมสร้างพลังอำนาจ และความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 15-27.

สมใจ ลักษณะ (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพยการพิมพ์.สิรินันท์ เกษมธาดาศักดิ์ (2560). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ผ่านความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานบริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชณุกร (2555). การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินโดยใช้ Competency. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).

Barnett, T.L. (2003). The Influence of Organizational Culture, Work Environment and Personal Work Life on Job Satisfaction and career Commitment of Student Affairs Middle Managers. Boston: Houghton Miffin.

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-hall.

Bulent Aydin & Adnan Ceylan. (2009). Department of Business Administration Gebze Institute of High Technology. University of Inonu Malatya Turkey.

Bandura, A. (2004). Modeling. In E. W. Craighead & C. B. Nemeroff (Eds.). The concise Corsini Encyclopedia of psychology and behavioral sciences. (pp. 575-577). New York: Wiley.

Cummings, T. G., & Worley, C.G. (2009). Organization Development & Change. (9th ed.). Ohio: South Western Cengage Learning.

Denison, D. R. (1990). Corporate Culture and Organizational Effectiveness. New York: Wiley.

Drafke, M. W., & Kossen, S. (2002). The Human Side of Organizations. (8th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Gordon, J. R. (1999). Organizational Behavior: A Diagnostic Approach. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Herzbreg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: McGraw-Hill.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization Development and Change. (3rded.). St. Paul, MN: West.

McClelland, D. C (1985). Human Motivation. Cambridge: Cambridge University Press.

Newstrom, J. W., & Davis, K. (2002). Human Behavior at Work: Organizational Behavior. (8thed). New York: McGraw-Hill.

Robbins, S. P. (1994). Essentials of Organizational Behavior. (4thed). New Jersey: Prentice Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: New York: Harper & Row.