อำนาจละมุนอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการเสริมสร้างรายได้ผู้สูงวัย ของชุมชนบ้านโนนเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ศิริพร พึ่งเพ็ชร์
วิไลวรรณ ศิริประภาภูวดล
ไพโรจน์ ศรีคง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอำนาจละมุนอัตลักษณ์ชุมชนบ้านโนนเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างรายได้ผู้สูงวัยด้วยอำนาจละมุนอัตลักษณ์ชุมชนบ้าน
โนนเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่อาศัยในชุมชนอำนาจละมุนอัตลักษณ์ชุมชนบ้านโนนเขวา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) การสัมภาษณ์ 2) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และ 3) การประชุมสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า


 1) อำนาจละมุนอัตลักษณ์ชุมชนบ้านโนนเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ที่เป็นรูปธรรมเป็นอำนาจละมุนทางธรรมชาติ ได้แก่ พื้นที่ปลูกฝ้าย พื้นที่ติดภูเขามีต้นครั่ง มะหาด ตะโกภูเขา คนทา และสมอ เพื่อใช้ย้อมสีธรรมชาติ แม่น้ำพรม เขื่อนโนนเขวา เป็นแหล่งน้ำ วิถีชีวิตชุมชนแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายเข็ญมือเพื่อการทำงานและไปงานบุญ มีภูมิปัญญาชุมชนในการปลูกฝ้าย ย้อมฝ้าย และการตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มีแหล่งท่องเที่ยวล่องแพ อำนาจละมุนอัตลักษณ์ชุมชนที่เป็นนามธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี ฝ้ายผูกแขน การทำบุญคุ้ม บุญข้าวจี้ บุญพระเวด


 2) แนวทางในการเสริมสร้างรายได้ผู้สูงวัยคือ การทอผ้า “ผ้าฝ้ายเข็ญมือ” และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ เสื้อ กระโปร่ง  กางเกง กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ หมวก ผ้าขาวม้า ดอกไม้ประดิษฐ์ ภาครัฐควรมีเงินทุนและพันธุ์ฝ้ายสนับสนุน ด้านการตลาดควรมีการส่งเสริมการขายในเทศกาลต่าง ๆ ทั้งแบบออกร้านและออนไลน์ และการสร้างเครือข่ายการทอผ้าและการจัดจำหน่าย “ผ้าฝ้ายเข็ญมือ” 


อำนาจละมุนเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยส่งเสริมและขับแคลื่อนเศรษฐกิจของคนในชุมชนก่อให้เกิดรายได้ ความภาคภูมิใจให้แก่ผู้สูงอายุที่สามารถดำรงชีพได้ด้วยรายได้ของตนเองไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน และถ้าได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานในชุมชนด้านการตลาด ผู้สูงอายุจะมีรายได้ที่ยั่งยืนสืบไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงวัย (อย่างสมบูรณ์) : ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, 38(1), 5-27.

ชลธิชา มาลาหอม. (2555). อัตลักษณ์ชุมชนรากฐานสู่การศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 41.

บวร โทศรีแก้ว. (2558). อำนาจอ่อน-อำนาจแข็ง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จากhttps://www.thairath. co.th/content/401926.

สมปอง สุวรรณภูมิมา, ศิริพร พึ่งเพ็ชร์ และ ลักขณา สุกใส. (2563). การพัฒนาการจัดสวีสดิการสังคมผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 13-28.

สุกานดา ถิ่นฐาน, อนุชา แพ่งเกษร. (2566). การส่งต่ออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านคุณค่าด้านประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่สงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 246-257.

อิงอร เมตานนท์. (2563). พลังอำนาจแห่งชาติซอฟเพาเวอร์ของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ, 11(1), 33-47.

อินทิรา พงษ์นาค. (2557). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัด สุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การอนามัยโลก. (1990). พฤฒพลัง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. จาก https://www.hsri.or.th.

Ritzer, G. (2007). Modern Sociological Theory. New York: McGraw – Hill.

Joseph, S. N. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: Public Affairs.

Tosrikaew, B. (2014). Soft Power-Strong Power Thai Rath Online. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563,

จาก https://www.thairath.co.th/content/401926.