ทัศนคติและพฤติกรรมในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ วัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ฤทธิชัย แกมนาค

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติความรู้ความเข้าใจและความเชื่อ/ความรู้สึกที่มีต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและ2) เพื่อศึกษารูปแบบ/พฤติกรรมในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง  อำเภอพาน  จังหวัดเชียงราย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย  จังหวัดเชียงราย จำนวน  123  คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง มีความเชื่อ/ความรู้สึกเกี่ยวกับการออกกำลังกายอยู่ในลักษณะที่เป็นกลาง 
          2. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ปฏิบัติเป็นประจำคือการเดินหรือปั่นจักรยานไปในสถานที่ใกล้ ๆ กิจกรรมที่ทำให้มีการออกแรงมากที่สุดคือการทำงานบ้าน  กวาดบ้าน ถูบ้าน  เวลาที่ใช้ในการออกกำลังกาย คือช่วงเย็น   ใช้เวลาในการออกกำลังกายไม่ถึง 30 นาที  สถานที่ที่ใช้ในการออกกำลังกายคือที่บ้านของตัวเอง ก่อนการออกกำลังกายจะเตรียมความพร้อมโดยการรับประทานอาหารพอดีกับร่างกาย ก่อนหรือหลังการออกกำลังกายไม่ค่อยได้อบอุ่นร่างกายหรือการคลายกล้ามเนื้อ มีการสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายเป็นบางครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เชษฐ์สุดา พรมสาส์น และ สิวลี รัตนปัญญา. (2562). แรงจูงใจในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบท จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(3), 110-121.

ทศพล พงษ์ต๊ะ และ ณัฐพงศ์ รักงาม. (2561). โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2), 64-79.

ธราธร ดวงแก้ว และหิรัญญา เดชอุดม. (2550). พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบล โพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

พระปลัดสมชาย ดำเนิน และ พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดพฤฒพลังวิถีพุทธของผู้สูงอายุกลุ่มผู้เกษียณราชการ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 210-227.

พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ และ ดาว เวียงคํา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกายและการรับรู้อุปสรรค ของการออกกําลังกายกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 7-16.

พุฒิพงศ์ มากมาย (2565). พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(1), 60-72.

ภทรดร พรหมสุคนธ์, สุนทร แม้นสงวน, ชนะวงศ์ หงษ์สุวรรณ และ ธงชัย เจริญทรัพย์มณี. (2564). พฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 3(1), 70-84.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. ( 2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2559. กรุงเทพฯ : พริ้นเทอรี่ จำกัด 999.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2533). การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุหลังเข้ารับบริการในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรีย์ สร้อยทอง, นิคม มูลเมือง และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(5), 100-113.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed.). New Jersey: Pearson Education.