การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์โดยทั่วไปของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่าง นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย จำนวน 20 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบทดสอบ
ผลการวิจัย พบว่า การใช้งานสื่อออนไลน์ของนิสิตช่วยในการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพราะปัจจุบันการใช้สื่อออนไลน์เป็นที่นิยมมีองค์ความรู้และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยภาษาอังกฤษให้ได้ศึกษาและนำมาประยุกต์ช่วยในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การใช้งานสื่อออนไลน์จึงมีประโยชน์มากในปัจจุบัน ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากสื่อออนไลน์ เป็นแหล่งความรู้ที่มีข้อมูลภาษาอังกฤษที่นิสิตสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ รวมถึงช่วยเสริมสร้างและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พรพิไล เติมสินสวัสดิ์. (2558). การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
พิพัฒน์ อัฒพุธ, ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และ ดิเรก ธีระภูธร. (2560). ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกวิชาการออกแบบและผลิตสื่อกราฟิกคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 145-154.
วิทวินทร์ ประทังคติ, พิจิตรา ธงพานิช , สฤษดิ์ ศรีขาว. (2565). ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเสริมสร้างการอ่าน การเขียนอย่างมีวิจารณญาณและการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1829-1844.
แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์: แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่น เอ็กซ์ และเจ็นเนอเรชั่น วาย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 59-65.
อรรถพล ทองวิทยาพรม, จำนง วงษ์ชาชม และ สุทิศา ซองเหล็กนอก. (2561) การใช้สื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงครามมหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 81-89.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.
Rugimbana, R. (2007). Generation Y: How Cultural Values Can Be Used to Predict Their Choice of Electronic Financial Service. Journal of Financial Service Marketing, 11(4), 301-313.