การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะแห่งยุคดิจิทัล

Main Article Content

ศุภกร ณ พิกุล
พระมหาประสิทธิ์ เนตรรังษี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาระบบนิเวศด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนบ้านสบคำ 2) เพื่อสำรวจปัจจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนบ้านสบคำ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนบ้านสบคำแห่งยุคดิจิทัล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกต และแบบสอบถาม ผลวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เนื่องจากปัจจุบันได้มีการนำเอาสื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้เพื่องานด้านการศึกษาทุกระดับอย่างแพร่หลาย อำนวยความสะดวกให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไร้ขีดจำกัดทั้งเวลาและสถานที่ ส่งเสริมการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล มีรูปแบบและเป้าหมาย ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษด้วยตนเอง เป็นผลให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ประสิทธิภาพการศึกษาภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ดีขึ้น ผู้สอนควรคำนึงถึงการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะแห่งยุคดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทในปัจจุบันนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตย์ษุพัช สารนอก. (2562). องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมระบบของระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน ด้วยการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 87-100.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านหลักสูตร ศาสตร์การสอนการสอนและเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 271 - 287.

วิทวินทร์ ประทังคติ, พิจิตรา ธงพานิช , สฤษดิ์ ศรีขาว. (2565). ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเสริมสร้างการอ่าน การเขียนอย่างมีวิจารณญาณและการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1829-1844.

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 138-170.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). กระบวนการนิเทศภายใน. กรุงเทพฯ: อักษรบริการ.

Holgado, A., & Penalvo, F. J. (2017). A Metamodel Proposal for Developing Learning Ecosystems. Learning And Collaboration Technologies: Novel Learning Ecosystems. Cham: Springer International Publishing.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.